random xúc xắc

ThaiPublica > Native Ad > ความสำเร็จ ‘UOB My Digital Space’ เสียงจากภาคีเครือข่าย สู่เป้าหมายการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21

ความสำเร็จ ‘UOB My Digital Space’ เสียงจากภาคีเครือข่าย สู่เป้าหมายการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21

4 มีนาคม 2024

ประเทศไทยมีนักเรียนกว่า 7 ล้านคน ในจำนวนนี้มีนักเรียนยากจนพิเศษ ซึ่งขาดโอกาสและเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษาถึง 1.8 ล้านคน นี่เป็นปัญหาที่ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ตั้งโจทย์ว่า สถาบันการเงินจะมีส่วนช่วยลดช่องว่างทางการศึกษา ลดความเหลื่อมล้ำ พร้อมส่งเสริมทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคตแก่เด็กนักเรียนที่ขาดโอกาส โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลได้อย่างไร ในปี 2564 โครงการ UOB My Digital Space (MDS) จึงจัดตั้งขึ้น โดยเริ่มจากวิชาการเงินผ่านหลักสูตร การเงินออนไลน์ UOB Money 101: Teen Edition ร่วมกับพันธมิตรอย่างโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ ก่อนจะต่อยอดไปสู่ห้องเรียนดิจิทัล ในปี 2565 ด้วยการมอบเครื่องมือการเรียนรู้ และสื่อดิจิทัลใน 3 วิชาหลัก วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ เพื่อสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนที่ขาดโอกาสในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งได้ส่งมอบห้องเรียนดิจิทัลให้กับ 3 โรงเรียน มีนักเรียนได้รับประโยชน์กว่า 2,000 คน MDS ยังเป็นโครงการที่สร้างการมีส่วนร่วมตั้งแต่ระดับผู้บริหาร พนักงาน คู่ค้า และลูกค้า ผ่านกิจกรรมระดมทุนและสร้างความร่วมมือผ่านกิจกรรมงานเดิน/วิ่ง โดยในปี 2566 สามารถระดมทุนได้ 4,000,000 บาท และนำเงินทั้งหมดไปสร้างห้องเรียน UOB My Digital Space พร้อมสนับสนุนหลักสูตรดิจิทัล เพิ่มเติมให้อีก 3 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนปากแพรกวิทยาคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และโรงเรียนบ้านทุ่งมน จังหวัดขอนแก่น โดยมีนักเรียนได้รับประโยชน์อีกกว่า 1,900 คน ในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ปี 2567 โครงการ MDS ได้ลงพื้นที่ตามโรงเรียนต่าง ๆ และทำกิจกรรมเพ้นท์ผนังห้อง ติดสติ๊กเกอร์ และตกแต่งห้องเพิ่มเติม รวมถึงกิจกรรมส่งมอบห้องเรียนดิจิทัลอีก 3 โรงเรียนข้างต้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของคุณครูและนักเรียน

  • ‘UOB My Digital Space’ โครงการสร้างเด็กไทยสู่ยุค ‘ดิจิทัล’ ประสาน ‘พนักงาน-คู่ค้า-พันธมิตร’ ร่วมกันแบ่งปันยกระดับการศึกษา
  • คุณครู-นักเรียน ยืนยัน ‘โครงการ MDS UOB’ ตอบโจทย์การเข้าถึง ‘โอกาส-ลดความเหลื่อมล้ำ’ รู้เท่าทันดิจิทัล
  • นางสาวธรรัตน โอฬารหาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย

    3 ปี ‘UOB My Digital Space’ สร้างโอกาสเด็กกว่า 5,500 คน

    นางสาวธรรัตน โอฬารหาญกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารสื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า แม้เด็กไทยส่วนใหญ่จะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ แต่ยังมีเด็กจำนวนมากที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่ได้รับการศึกษาผ่านเทคโนโลยี ดังนั้นโครงการ MDS จึงเข้ามาเติมเต็มโอกาส ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำเพื่อสังคม “เรามองไปที่การมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กร เงินทุนส่วนหนึ่งมาจากการบริจาควิ่งระดมทุน ก็พยายามชักชวนให้ช่วยกันให้ได้มากที่สุด ทำให้แต่ละปีได้มากน้อยไม่เท่ากัน สุดท้ายการที่เขารู้สึกได้ช่วยเหลือคนอื่นและสังคม เขาจะรู้สึกมีความหมาย ตื่นขึ้นมาแล้วไม่ได้ทำแค่ตัวฉัน เป็นเป้าหมายที่อยากให้พนักงานเห็นประโยชน์แบบนี้ไปด้วยกัน” ตลอด 3 ปีของโครงการ UOB My Digital Space มีนักเรียนได้รับประโยชน์กว่า 5,500 คน ผ่านหลักสูตรการเงินออนไลน์ UOB Money 101: Teen Edition การมอบห้องคอมพิวเตอร์ My Digital Space (หลักสูตรดิจิทัล 3 วิชา คือ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และภาษาอังกฤษ) การจัดให้มีครูอาสาจากโครงการ Teach for Thailand จำนวน 2 คนเข้าไปทำงานในโรงเรียน ตลอดจนการพัฒนาครูแนะแนวโดย a-chieve พันธมิตรสำคัญอย่างโครงการร้อยพลังการศึกษา นำโดยนางสาวกนกวรรณ โชว์ศรี ผู้อำนวยการโครงการร้อยพลังการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ กล่าวถึงการคัดเลือกโรงเรียนเข้าร่วมโครงการ MDS ว่า โรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารยูโอบี ประเทศไทย ต้องได้รับการพิจารณาตามเกณฑ์การคัดเลือก 2 เงื่อนไขสำคัญ คือ (1) เป็นโรงเรียนที่ขาดแคลนอุปกรณ์ แต่มีความต้องการและความพร้อมในการติดตั้งเครื่องมือ และ (2) ผู้บริหารและครูต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนาเด็กและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เมื่อโรงเรียนดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โครงการ MDS จะมีการประเมินผลลัพธ์การใช้งานโปรแกรมประจำปีของคุณครูและนักเรียนให้ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน “สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแย่ลง เพราะจำนวนเด็กเสี่ยงหลุดออกจากระบบการศึกษามากขึ้น ส่วนหนึ่งเพราะรู้สึกเรียนตามเพื่อนไม่ทัน ดังนั้น การมีครูจาก Teach for Thailand จะช่วยให้เด็กมีได้เรียนแบบ active learning ส่วนเครื่องมือ a-chieve ก็ทำให้เด็กค้นพบเส้นทางของตัวเองอีกด้วย” นางสาวกนกวรรณ กล่าว โครงการ MDS จึงได้รับความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะโครงการร้อยพลังการศึกษา ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักในการรวบรวม ‘ภาคีเครือข่าย’ และเป็นผู้ขับเคลื่อนความสำเร็จในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

    ภาคีเครือข่าย เติมเต็ม “โอกาส”

    อีกหนึ่งพันธมิตรสำคัญคือ Teach for Thailand นำโดยนายธนิต แคล้วโยธา ผู้จัดการส่วนภูมิภาค (ภาคกลาง) มูลนิธิทีช ฟอร์ ไทยแลนด์ ให้ข้อมูลว่า มูลนิธิ Teach For Thailand มีเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายผู้นำผ่านโครงการผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยจะส่งครูไปยังโรงเรียนต่างๆ ประมาณ 100 คนต่อปี ครอบคลุม 50 โรงเรียน ใน 15 จังหวัด ต่อมาปี 2566 ธนาคารยูโอบีเข้ามาให้การสนับสนุนมูลนิธิ Teach For Thailand ผ่านการสนับสนุนโครงการร้อยพลังการศึกษา ทำให้โรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษกได้รับครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงจำนวน 2 คน ในวิชาคณิตศาสตร์และวิชาภาษาอังกฤษ นายธนิต กล่าวต่อว่า ผลจากที่ครู Teach for Thailand เข้าไปสอนได้ทำให้นักเรียนมีอัตราการเรียนรู้ที่ดีขึ้น ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น และการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล ขณะที่นักเรียนก็มองว่าครูทำงานร่วมกับครูคนอื่นในโรงเรียนได้ ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ครูสอนสนุก ไม่น่าเบื่อ และครูอธิบายสิ่งที่เข้าใจยากให้นักเรียนเข้าใจได้ง่าย “ครูจำเป็นต้องช่วยส่งเสริมให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการฝึกวินัยในตนเอง หรือหาเครื่องมือการสอนที่ลดปัญหาขัดขวางการเรียนในห้อง เช่น แบบฝึกหัดที่นักเรียนสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง” นายธนิต กล่าว อย่างไรก็ตาม นักเรียนส่วนใหญ่ยังไม่เห็นภาพในอนาคตว่าจะไปถึงเป้าหมายอย่างไร เช่น นักเรียนมีความฝันอยากเป็นนักบัญชี แต่นักเรียนจะบอกวิธีการไม่ได้ หรือถ้าที่บ้านมีปัญหาเรื่องการเงิน เขาจะทำอย่างไรได้บ้างเพื่อจะทำให้ตนเองยังสามารถอยู่ในเส้นทางความฝันนั้นอยู่ โดยไม่ต้องหยุดความฝันและหลุดออกจากระบบการศึกษา ด้วยเหตุนี้ โครงการ MDS จึงมีภาคีเครือข่ายอย่าง a-Chieve โดย นายภูมิสิทธิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย ผู้ก่อตั้ง บริษัท อาชีฟ โซเชียลเอนเทอไพรส์ จำกัด กล่าวว่า a-chieve ได้เข้ามาพัฒนาครูแนะแนวให้มีความรู้และเครื่องมือในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับนักเรียน สามารถพูดคุยมาขอคำปรึกษาได้ และทำให้เด็กสามารถเข้าใช้แพลตฟอร์มในการเรียนรู้ ค้นพบความชอบ ความถนัด และเส้นทางการเรียนหรือการประกอบอาชีพที่เหมาะกับตัวเอง อีกทั้งยังมีการปรับหลักสูตร a-chieve ให้เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้น เด็กสามารถล็อกอินเข้าไปศึกษาเพื่อให้ค้นพบตัวเองได้ด้วย นอกจากนี้ยังมีภาคีเครือข่ายอย่างบริษัท เอ็ดดูเทค อินโนเวชั่น จำกัด หรือผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Winner English สื่อการสอนวิชาภาษาอังกฤษ และบริษัท เลิร์น เอ็นดูเคชั่น จำกัด หรือผู้พัฒนาแพลตฟอร์ม Learn Education สื่อการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ให้กับโรงเรียน
    นายประวิทย์ สิงห์เรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรี

    ห้องเรียนดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำ

    ขณะที่โรงเรียนเข้าร่วมโครงการ UOB My Digital Space โดยนายประวิทย์ สิงห์เรือง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ่อพลอยรัชดาภิเษก จังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า โรงเรียนได้รับการสนับสนุนโดยเฉพาะด้านสื่อการเรียนการสอน และอุปกรณ์การเรียนคอมพิวเตอร์ เพราะก่อนหน้านี้ จำนวนคอมพิวเตอร์ไม่เพียงพอต่อจำนวนเด็ก ทำให้บางครั้งคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องจะมีเด็กใช้งานมากกว่า 1 คน นายประวิทย์ กล่าวถึงโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษว่า หลังจากโรงเรียนได้รับโปรแกรมทำให้เด็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและรู้สึกมีความสุขกับการเรียน เพราะอยากใช้ห้องเรียนดิจิทัล ขณะเดียวกันโปรแกรมที่ออกแบบหลักสูตรอย่างดีทำให้คุณครูในโรงเรียนนำไปใช้สอนได้ดียิ่งขึ้นด้วย นายประวิทย์ กล่าวต่อว่า ครูจาก Teach For Thailand แม้ไม่ได้เรียนจบครูมาโดยตรง แต่โรงเรียนก็เคารพในศักยภาพ จึงส่งหนังสือไปที่คุรุสภาเพื่อทำเรื่องให้นำครู Teach for Thailand เข้ามาสอนในโรงเรียน “เด็กมองครูเหมือนเพื่อน พูดคุยได้ เขาเปิดใจ…ผมก็ได้เรียนรู้จากครู Teach for Thailand เช่น รู้ว่าเด็กต้องการอะไร ต้องจัดกิจกรรมไหม เราต้องปรับตัวเองให้เท่าทันกับเด็กและครูที่เข้ามาด้วย ครูจาก Teach for Thailand เป็นแบบอย่างในการทำงานที่ดี แม้จะเป็นคนรุ่นใหม่ แต่ก็สร้างแนวทางที่ดีได้” นายประวิทย์ กล่าว นายประวิทย์ ทิ้งท้ายว่า สถานการณ์การศึกษาไทยมีความเหลื่อมล้ำสูง เห็นได้จากโรงเรียนต่างจังหวัด ซึ่งหลายครอบครัวไม่มีฐานะมากนัก แต่เมื่อมี โครงการ UOB My Digital Space ได้ช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆ อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน และช่วยลดความเหลื่อมล้ำได้
    keno online top 10 casino online casino trực tuyến baccarat online tải baccarat