random xúc xắc

ThaiPublica > คนในข่าว > “เอกพล ณ สงขลา” ชู Passion 2025 ไทยเบฟ ‘โอกาสไร้ขีดจำกัด’ เปลี่ยนผ่านยุค HR สู่ HC ‘คนคือทุน’

“เอกพล ณ สงขลา” ชู Passion 2025 ไทยเบฟ ‘โอกาสไร้ขีดจำกัด’ เปลี่ยนผ่านยุค HR สู่ HC ‘คนคือทุน’

2 มีนาคม 2024
ดร.เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุด กลุ่มทรัพยากรบุคคล ไทยเบฟฯ
เป็นเวลากว่า 17 ปี นับตั้งแต่ ‘ไทยเบฟ’ เข้าจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 กับธุรกิจหลักคือการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในประเทศไทย ก่อนที่เวลาต่อมาไทยเบฟจะขยายเข้าซื้อกิจการต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จนขยายธุรกิจครอบคลุมถึงเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และอาหาร รายได้กว่า 2.79 แสนล้านบาทในปี 2565 เป็นตัวการันตีวิสัยทัศน์ที่ว่า ‘ผู้นำที่มั่นคงและยั่งยืนของอาเซียนในมิติเครื่องดื่มและอาหารครบวงจร’ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่ครอบคลุมไปถึงอาเซียน ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสำเร็จของธุรกิจมาจากผลิตภัณฑ์และช่องทางจัดจำหน่ายที่ครอบคลุม เข้าถึงผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งสำคัญไม่แพ้กันคือ ‘มดงาน’ หรือที่เรียกว่าพนักงาน ผู้ซึ่งขับเคลื่อนองค์กรให้เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้า พูดคุยกับ ดร.เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และผู้บริหารสูงสุดกลุ่มทรัพยากรบุคคล เรื่องการขับเคลื่อนทรัพยากรบุคคลของเครือไทยเบฟ ซึ่งมีพนักงานมากกว่า 43,000 คนในประเทศไทย และต่างประเทศกว่า 60,000 คน โดยมีอายุเฉลี่ยของพนักงานที่ 35 – 40 ปี ทั้งนี้ ไทยเบฟได้รับการยอมรับให้เป็นสมาชิก DJSI World จาก S&P Global เป็นเวลา 7 ปีติดต่อกัน และเป็นสมาชิกตลาดเกิดใหม่ 8 ปีติดต่อกัน (ณ เดือนธันวาคม 2566) ส่วนด้านบุคลากร ไทยเบฟได้รับรางวัลเป็นบริษัทที่น่าทำงานที่สุดในเอเชีย 2565 (HR Asia Best Companies to Work for in Asia 2022) รวมถึงเป็น 50 องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดในปี 2565 (WorkVenture’s Top 50 Employers)
“เวลาสร้างวิสัยทัศน์ธุรกิจ เรา (ฝ่าย HR) และฝั่งธุรกิจต้องผลักดันไปด้วยกัน ถ้าเข้าใจและมองไปข้างหน้า HR จะควบคู่กับผู้นำและวิ่งได้เร็ว”

3C ดีเอ็นเอ คนไทยเบฟ

ไทยเบฟก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มชั้นนำในอาเซียนและสร้างผลกระทบเชิงบวก ต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ได้นำหลักการพัฒนา ESG มาใช้โดยมุ่งมั่น “สรรสร้างการเติบโต อย่างยั่งยืน” (Enabling Sustainable Growth) โดยปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (SEP) ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ดร.เอกพล อธิบายว่า ไทยเบฟดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนมาตั้งแต่ยุคของ ESG (Environment, Social, Governance) ซึ่งมาพร้อมกับพันธกิจ ‘สร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าจากการเติบโต’ (Creating and Sharing the Value of Growth) ดังนั้นเป็นเวลาเกือบ 10 ปีที่ไทยเบฟเดินทางสายนี้ และทำให้ “การทำธุรกิจเพื่อความยั่งยืนอยู่ในดีเอ็นเอของไทยเบฟ” ดร.เอกพล กล่าวถึงพันธกิจของไทยเบฟคือ เรื่องการสร้างสรรค์และแบ่งปันคุณค่าเพื่อการเติบโต หรือ Creating and Sharing Value of Growth โดยประกอบด้วยคุณค่าการทำงาน 3 ข้อ คือ C – Collaboration ร่วมกันผสานพลัง, C – Creating Value สร้างสรรค์คุณค่า และ C – Careing Stakeholder ใส่ใจผู้เกี่ยวข้อง จากคุณค่าการทำงานทั้งสามข้อ ขมวดเป็นแนวคิด “การสร้างโอกาสไร้ขีดจำกัด” ซึ่งทำให้องค์กรต้องมองเรื่องโอกาสกับพนักงานเป็นลำดับแรก ตลอดจนความหลากหลาย ความเสมอภาคและการมีส่วนร่วมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ กำหนดแนวทางและนโยบายการบริหารจัดการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานด้วยเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของตนเองและมีโอกาสเท่าเทียมในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้เติบโตตามสายอาชีพได้ “หลายปีที่ผ่านมาองค์กรประสบความสำเร็จจาก 3 คำนี้ (Collaboration, Creating Value และ Careing Stakeholder) ทั้งทำงานร่วมกันในองค์กรกับพันธมิตร และคุณค่าไม่ใช่เรื่องเงินอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องหลากหลาย และใส่ใจผู้เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศให้เราเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน” ดร.เอกพล กล่าวต่อว่า ไทยเบฟมีภาพลักษณ์เรื่อง ‘ความมั่นคง’ สำหรับพนักงาน สืบเนื่องจากปรัชญาธุรกิจที่มองว่า ถ้าพนักงานเป็นคนตั้งใจและทำดี เขาควรมีโอกาสได้เติบโตไปพร้อมกับบริษัท ประกอบกับความสามารถในการเติบโตของบริษัท เป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่นโยบายการพัฒนาคน

จาก Passion 2025 สู่ ‘โอการไร้ขีดจำกัด’

“ผมหารือกับคุณฐาปน (ฐาปน สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหารไทยเบฟเวอเรจ) และพร้อมใจใช้คำว่า ‘โอกาสไร้ขีดจำกัด’ เป็นปรัชญาหลักในการพัฒนาคน ซึ่งเป็นคำที่ใหญ่มาก แต่ไม่ใช่ทุกบริษัทจะสามารถทำได้เต็มปากว่านี่คือธงหรือปรัชญาในการพัฒนาคน แต่ด้วยกลุ่มไทยเบฟมีการเติบโตหรือรักษาคุณค่าในดีเอ็นเอ เราจึงเลือกใช้คำนี้เป็นปรัชญา ฉะนั้นพอมีธงและความมั่นคงเป็นพื้นฐาน ทำให้เรามีโอกาสสร้างสรรค์กลยุทธ์และแนวทางการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2015 จนปัจจุบัน”
“เป็นปรัชญาที่ใหญ่มาก ไม่ใช่ว่าเราทำได้ทันที แต่ทุกคนเชื่อมั่นและภูมิใจจะใช้ปรัชญานี้ในการพัฒนาคนและทำต่อเนื่องมา เป็นแนวทางให้เราเกิด transformation ของทั้งองค์กรและคนได้”
โดยปรัชญาโอกาสไร้ขีดจำกัด เป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์องค์กรที่ชื่อ “Passion 2025” ซึ่งประกอบด้วย BUILD (สรรสร้างความสามารถ) STRENGTHEN (เสริมแกร่งความเป็นหนึ่ง) และ UNLOCK (สุดพลังศักยภาพไทยเบฟ)

“ไทยเบฟมีโอกาสที่ไร้ขีดจำกัดเรื่องการเติบโตทางสายอาชีพ ไร้ขีดจำกัดการสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ดีๆ ที่มีความหมายทั้งในและนอกองค์กร และมีโอกาสไร้ขีดจำกัดสร้างความแตกต่าง ทำอะไรที่ยิ่งใหญ่ไปกว่าที่พนักงานแต่ละคนจะทำได้เอง คนสองสามคนมาร่วมมือกันก็สร้างโอกาสให้ทีมและสังคม กับประเทศหรืออาเซียน”

‘โอกาสไร้ขีดจำกัด’ ประกอบด้วย 7 แนวทาง ดังนี้
  • Clear Role and Responsibility โครงสร้างและบทบาทที่ชัดเจน
  • Market-Oriented Conpensation and Benefits ค่าตอบแทนและสวัสดิการ ที่แข่งขันได้กับตลาด
  • Recognition-Based Performance Management การบริหารผลงานโดยยึดผลงานเป็นตัวตั้ง
  • Holistic People Development การพัฒนาบุคลากรแบบองค์รวม
  • Proactive Succession and Workforce Planning การบริหารทางธุรกิจเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และการบริหารผู้สืบทอดตำแหน่งและบุคลากรเชิงรุก
  • Engaging Corporate Culture การส่งเสริมวัฒนธรรม ที่สร้างความผูกพัน ต่อองค์กร
  • Strategic Talent Acquisition and Onboarding การสรรหาบุคลากร ที่มีศักยภาพ และ การดูแลบุคลากรใหม่
  • “เจ็ดเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จับต้องได้ ส่วนการ transformation ที่จะทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรมาจากจุดยืน commitment ของผู้บริหาร เพื่อให้พนักงานเห็นว่าเราใส่ใจ”

    “เราพยายามเก็บตำแหน่งสำคัญระดับซีเนียร์ให้พนักงานภายใน ไม่ค่อยจ้างคนจากภายนอกระดับผู้จัดการ เพราะต้องการเก็บโอกาสให้พนักงานเติบโต แต่ใช่ว่าพนักงานทุกคนจะเก่งแล้วได้โอกาส ฉะนั้นการประเมินว่าใครได้โอกาสก็เป็นสิ่งที่ต้องทำตามมาตรฐานนั้น เราน่าจะทำให้พนักงานได้เห็นชัดเจนว่า ‘โอกาสไร้ขีดจำกัด’ มีจริง และลู่ทางการเข้าถึงโอกาสก็มีจริง’

    อย่างไรก็ตาม ไทยเบฟได้นำโปรแกรมการวิเคราะห์บุคลากรมาวัดผลการปฏิบัติงานของพนักงาน เพื่อช่วยวางแผนกลยุทธ์ ค้นหาช่องว่างทางทักษะ การสรรหาและว่าจ้าง ประเด็นความเสี่ยงในการลาออกของพนักงาน การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และการวิเคราะห์เครือข่ายองค์กร ตลอดจนมีการใช้เครื่องมือต่างๆ ดร.เอกพล กล่าวถึงการพัฒนาบุคลากรว่า บริษัทใช้โปรแกรมที่เรียกว่า การพัฒนาบุคลากรแบบองค์รวม (Holistic People Development) โดยสร้างรูปแบบการพัฒาที่แตกต่างกัน แต่มีจุดร่วมกันคือการเติบโตในสายอาชีพ ประกอบด้วย โมเดลสมรรถนะ (Competency Model) เส้นทางอาชีพ (Career Path) และหลักสูตรฝึกอบรมในสายอาชีพ (Career-Based Training Program) และโมเดลเคิร์กแพททริก (Kirkpatrick) ตลอดจนมีการใช้แผนพัฒนารายบุคคล (IDP) เพื่ออัพสกิลและรีสกิลให้พนักงานด้วย

    Human Capital แทน Human Resource เพราะคนไม่ใช่แค่ทรัพยากร

    สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือนโยบายภาพใหญ่ และวิธีการเพิ่มทักษะ แต่สิ่งสำคัญในทางปฏิบัติคือ การสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้พนักงานเห็นว่า ไทยเบฟเป็นองค์กรที่มั่นคงและดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงทำให้สิ่งเหล่านี้ฝังเข้าไปในดีเอ็นเอของพนักงานอย่างแท้จริง ดร.เอกพล อธิบายการสร้างวัฒนธรรมองค์กรว่า ตั้งแต่ปลายปี 2558 บริษัทเริ่มจากรีแบรนด์ (rebrand) คำว่า ‘Huamn Resource’ เป็น ‘Human Capital’ แม้ทั้งสองคำนี้จะแปลเป็นภาษาไทยแล้วมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่มีนัยต่างกันสิ้นเชิง
    “เรามีความเชื่อว่า คนไม่ใช่ทรัพยากรตามความหมายที่ตั้งอยู่ มีการนำไปใช้แล้วหมดไป แต่คนเป็นทุน ทุนเป็นการเติบโต ฉะนั้น ทุนมนุษย์จึงเป็นปรัชญาที่เราทั้งเชื่อและกล่าวกับคนในองค์กรว่า เรามองทุกคนเป็นทุน”

    ดร.เอกพล บอกว่า การสร้างวัฒนธรรมองค์กรเป็นเรื่องยาก เพราะพนักงานหลายคนมักมองว่าการเติบโตเป็นเรื่องของบริษัทและเจ้านาย ทว่าพลังที่สำคัญคือ ‘พลังในตัวคน’ หากเราสามารถ transform ให้พนักงานทุกคนเข้าใจว่าโอกาสการเติบโตมาจากตัวพนักงานเอง เขาจะเห็นโอกาสในการเติบโตและร่วมมือกันผลักดันองค์กรอย่างแท้จริง

    “ในอดีตเรื่องของคนอาจเป็นเชิงรับ แต่พอรีแบรนด์จาก Human Resource เป็น Human Capital มันเหมือนปรับตัวเองเป็นเชิงรุก ถ้าคนเข้มแข็งธุรกิจก็ยั่งยืน ถ้าจะเติบโตได้ต้องเป็นหน้าที่ร่วมกันของพนักงานและองค์กร”

    บริษัทแบ่งสวัสดิการออกเป็น 3 กลุ่มคือ ด้านอาชีวอนามัย ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านครอบครัว ด้านอาชีวอนามัย เช่น บริการทางการแพทย์และพยาบาลในสถานที่ทำงาน วัคซีนประจำปี สนับสนุนค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสำหรับพนักงาน ประกันอุบัติเหตุให้พนักงานทุกคน ตรวจสุขภาพประจำปี ตลอดจนจัดหาสื่อการศึกษาเพื่อลดความเครียดให้พนักงาน ด้านสภาพแวดล้อมการทำงาน เช่น นโยบายชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น การทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) และตัวเลือกการทำงานไม่เต็มเวลาสำหรับพนักงานอาวุโส ที่ปรึกษาทางธุรกิจ หรือพนักงานเกษียณอายุที่ทำงานกับองค์กรมานาน ด้านครอบครัว เช่น จัดให้มีพื้นที่หรือสนามเด็กเล่นภายในบริเวณโรงงานสำหรับบุตรหลาน ห้องให้นมแบบส่วนตัวที่สำนักงานและโรงงานผลิตทุกแห่ง พนักงานหญิงสามารถลาคลอดบุตรได้สูงสุด 100 วัน โดยได้รับค่าจ้าง และในบางกรณีพนักงานอาจขอลาเพิ่มเติม ได้อีก 30 วัน ยิ่งกว่านั้น พนักงานชายลางานเพื่อทําหน้าที่คุณพ่อได้สูงสุด 6 วัน ทั้งนี้ จากพนักงานในประเทศกว่า 43,000 คน มีพนักงานที่มีส่วนร่วมในโครงการจิตอาสาต่างๆ ถึง 2,463 คน คิดเป็นชั่วโมงจิตอาสา 59,580 ชั่วโมง อย่างไรก็ดี ดร.เอกพล ย้ำว่า ความยากของการสร้างวัฒนธรรมองค์กรคือ การสร้างมายเซ็ท (mindset) ให้พนักงานตื่นตัวตลอดเวลา เรียนรู้ และตระหนักถึงความยั่งยืน “การมีผู้นำระดับสูงสุดมาออกโรงและขับเคลื่อนด้วยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญ ต้องมีการสื่อสารและกลยุทธ์ที่ทำอย่างต่อเนื่อง ทำให้เขาเห็นว่า แบบเดิมจะไม่มีเหลือแล้ว เราค่อนข้างปิดประตูรูปแบบเก่า เพื่อให้ก้าวไปข้างหน้า มายเซ็ทเป็นเรื่องแรกที่เราช่วยกันทำ พอเกิดมายเซ็ท เกิดความตระหนักรู้แล้ว ต่อไปคือแต่ละคนมีหน้าที่ที่แตกต่างกันไป”

    “ความท้าทาย 5 ปี คือทำให้พนักงานตื่นตัว เพราะนิสัยของคนที่เข้าองค์กรเพื่อมองหาความมั่นคง หรือวัฒนธรรมไทย มันไม่ง่ายทำให้เขาตื่นตัว ไม่ง่ายที่จะบอกว่าอาชีพฉันคือความรับผิดชอบของฉัน ฉะนั้นเรื่องการสร้างมายเซ็ทให้ตื่นตัวและมองด้วยตัวเองเป็นเรื่องท้าทายอันดับต้นๆ”

    ดร.เอกพล กล่าวถึงวิธีการพัฒนาระดับบุคคล นอกเหนือจากการให้ความรู้ว่า บริษัทต้องทำให้พนักงานมีความฝันหรือเป้าหมาย จากนั้นเป็นเรื่องของหัวหน้าหรือเจ้านายที่ต้องแบ่งเวลามาพูดคุยและพัฒนาพนักงาน ส่วนการดูแลพนักงานในประเทศอื่นๆ บริษัทก็ใช้ดีเอ็นเอแบบเดียวกัน แต่ปรับไปตาามบริบทและวัฒนธรรมของประเทศนั้นๆ และพยายามจ้างงานคนท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ให้พนักงานและครอบครัวตามแต่ละพื้นที่

    คนที่ไทยเบฟต้องการ และการปรับตัวหาเด็กรุ่นใหม่

    เว็บไซต์ด้านความยั่งยืนของไทยเบฟ รายงานเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร ครอบคลุมไปถึงประเด็นอื่นๆ ดังนี้
  • พนักงานทุกคน ร้อยละ 100 ได้รับการอบรมทางด้านสิทธิมนุษยชน
  • กําหนดให้คณะกรรมการสวัสดิการเป็นศูนย์รับเรื่องร้องเรียนทางด้านมนุษยชน
  • พิจารณาและทบทวนนโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัท เพื่อยกระดับมาตรฐาน และให้เป็นไปตามหลักสากลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  • สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนให้กับพนักงานทั้งในและต่างประเทศผ่านการจัดการฝึกอบรมและสัมมนาให้ความรู้ ทั้งนี้รวมถึงคู่ค้า (Supplier)
  • จัดการประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน 4 ประเด็น ที่พบในปี 2565
  • ป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยการจัดกิจกรรมและโครงการต่างๆ ทางด้านความปลอดภัยให้กับทุกหน่วยงานในองค์กร รวมไปถึงทุกโรงงานของบริษัท และชุมชนต่าง ๆ ในบริเวณใกล้เคียง
  • ประเมินความเสี่ยงในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนกับคู่ค้าทางตรง (Tier 1 Supplier) ทุกราย และร่วมมือกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ ในคู่ค้าชั้นอื่นๆ ที่รองลงมา
  • ด้านธรรมาภิบาล 100% ของคู่ค้ากลุ่มกลยุทธ์ต้องมีการจัดทำและบังคับใช้จรรยาบรรณคู่ค้าของตนเอง
  • “ผมคิดว่ายาก แต่ทำได้ ผมคิดว่าดีที่มีการกำหนดเป้าจับต้องได้ วัดได้ ปีนี้ขึ้นหรือตก ผมคิดว่ามันเหมือนเล่นกีฬา ถ้ากีฬาไม่มีกติกาก็ไม่ได้”
    อีกความท้าทายคือ การปรับองค์กรให้สอดรับกับพลังและความเก่งของคนรุ่นใหม่ โดยที่เชื่อมโยงระหว่างคนรุ่นก่อนๆ ซึ่งที่ผ่านมาไทยเบฟมีโครงการต่างๆ ที่รับเด็กรุ่นใหม่เข้ามาทำงานด้วย แต่ข้อจำกัดคือภายในองค์กรยังขาดเมนเทอร์ (mentor) ที่อายุตั้งแต่ 28-35 ปี ที่เข้าใจคนรุ่นใหม่และเปิดโอกาสให้พัฒนาไปพร้อมกัน

    “ผมว่าเด็กสมัยนี้เก่งขึ้น มีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น เทคโนโลยีก็มีส่วนช่วย เขามีความคิดสร้างสรรค์ แต่เขาต้องถูกฝึกด้วยการลงสนามและพิสูจน์ในการสร้างประโยชน์ให้ทีมจริงๆ ไม่ใช่คิดแล้วจะได้เสมอไป แต่โดยรวม 2 ถึง 3 ปีเด็กมีแนวโน้มเก่งและเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น”

    ในฐานะผู้นำฝ่ายบุคคล ดร.เอกพล กล่าวถึงคุณสมบัติของคนที่ไทยเบฟต้องการ โดยต้องประกอบด้วยดีเอ็นเอ 3C (Collaboration ร่วมกันผสานพลัง, Creating Value สร้างสรรค์คุณค่า และ Careing Stakeholder ใส่ใจผู้เกี่ยวข้อง) กล่าวคือต้องเป็นคนที่คำนึงถึงผู้อื่น ทำงานร่วมกันได้ ไม่วิ่งคนเดียว สร้างคุณค่าและใส่ใจคนอื่นๆ นอกจากนี้ ดร.เอกพล บอกว่า คนยุคใหม่ต้องมีทักษะที่สามารถทำงานควบคู่กับเทคโนโลยี มีความตระหนักรู้ในดิจิทัล (Digital Literacy) การใช้เครื่องมือต่างๆ การบริหารความเสี่ยงด้านไซเบอร์ มารยาททางสังคมออนไลน์ แต่ที่หายากและสอนยากที่สุดคือการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)

    “ถ้าเราเปิดคอร์ส ก็คงสอนสามเรื่องนี้ เห็นจากอดีตที่ทำให้เราประสบความสำเร็จ และเชื่อว่าเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จในอนาคต”

    keno online top 10 casino online casino trực tuyến baccarat online tải baccarat