random xúc xắc

ThaiPublica > Native Ad > โออาร์ ส่งเสริมการปลูกกาแฟ จ.น่าน เติมเต็ม ‘โอกาส’ สร้างรายได้และความยั่งยืน

โออาร์ ส่งเสริมการปลูกกาแฟ จ.น่าน เติมเต็ม ‘โอกาส’ สร้างรายได้และความยั่งยืน

1 มีนาคม 2024
นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR
ตลอด 3 ปี นับตั้งแต่ปี 2565 ที่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) ประกาศวิสัยทัศน์แห่ง ‘โอกาส’ ของผู้คน สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม นับเป็นภาพสะท้อนถึงการดำเนินธุรกิจที่ไม่ได้คำนึงถึงผลกำไรและการตอบแทนผู้ถือหุ้นเท่านั้น หากสิ่งสำคัญคือ ‘ความยั่งยืน’ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำของธุรกิจ โออาร์ ดำเนินธุรกิจตามแนวคิด OR SDG คือ S-Small โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก D-Diversified โอกาสเพื่อการเติบโตทุกรูปแบบ และ G-Green โอกาสเพื่อสังคมสะอาด ซึ่งมีที่มาจาก Sustainable Development Goals (SDGs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งจะมาตอบโจทย์เป้าหมายระยะยาวของโออาร์ให้เกิดขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น ในวันที่โลกเผชิญกับวิกฤติสภาวะภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม โออาร์ ยังคงยึดมั่นในเป้าหมาย OR 2030 Goals โดยนำเป้าหมายมาติดตามและทบทวนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การดำเนินงานด้านความยั่งยืนถูกผนวกเข้าไปกับการดำเนินธุรกิจอย่างแท้จริง นำไปสู่การลงมือปฏิบัติจริง แบบ In Action ตั้งแต่กลยุทธ์ แผนปฏิบัติการและเป้าหมายธุรกิจจนเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ สถานีบริการ พีทีที สเตชั่น วิภาวดี 62 โครงการไทยเด็ด โครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน เป็นต้น การลงมือปฏิบัติแบบ In Action และการมีส่วนร่วมทุกระดับ โดยเฉพาะผู้บริหารองค์กรที่ลงมือทำจริง เห็นได้จาก วันที่ 23 – 24 กุมภาพันธ์ 2567 นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร OR นายจินตพันธุ์ ทังสุบุตร ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นายธวัชชัย ชีวานนท์ และ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ คณะกรรมการ OR พร้อมด้วย นายโกมล บัวเกตุ และคณะผู้บริหาร OR เยี่ยมชมการพัฒนาพื้นที่ปลูกกาแฟ ตำบลภูคา อำเภอปัว จังหวัดน่าน ในโครงการการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต ระหว่าง OR และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยร่วมกันมอบโรงเพาะกล้ากาแฟ จำนวน 2 โรง และโรงตากกาแฟ จำนวน 2 โรง สำหรับบ้านปางยางและบ้านขุนกูล พร้อมระบบท่อน้ำเพื่อส่งเสริมการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนและได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
โรงตากกาแฟ
หนึ่งในพื้นที่ต้นแบบคือ อำเภอปัว จ.น่าน โดยข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ระบุว่า ประชากรใน อำเภอปัว จ.น่าน มีรายได้น้อยเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ขาดองค์ความรู้ในปลูกกาแฟอย่างมีคุณภาพ ขาดแหล่งน้ำในการดูแลต้นกาแฟในช่วงฤดูแล้ง และไม่มีตลาดรับซื้อผลผลิตกาแฟที่แน่นอน แม้พื้นที่ อำเภอปัว จ.น่าน จะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเติบโตอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็น ต้นกาแฟในพื้นที่มากกว่า 3,500 ต้น การปลูกข้าวโพด พืชผัก และเมลอน ตลอดจนมีเกษตรกรปลูกกาแฟในพื้นที่ประมาณ 39 ราย ได้ผลผลิตกาแฟเชอรี่ประมาณ 2,000 กิโลกรัม (หรือคิดเป็นกาแฟสารประมาณ 350 กิโลกรัม) แต่ด้วยปัญหาและข้อจำกัดข้างต้น ทำให้ โออาร์ เล็งเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาและต่อยอดให้กลายเป็นพื้นที่ต้นแบบในการสร้างความยั่งยืนทุกมิติ

โออาร์ จึงนำร่องในพื้นที่ ตำบลภูคา อำเภอปัว จ.น่าน โดยมีเป้าหมายพื้นที่ ไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ ครอบคลุม 2 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านปางยาง (มีชุมชนทั้งหมด 57 ครัวเรือน) และ หมู่ 2 บ้านขุนกูล มีชุมชนทั้งหมด 33 ครัวเรือน โดยมีเกษตรกรนำร่อง จำนวน 49 ราย (บ้านปางยาง 29 ราย และบ้านขุนกูล 20 ราย) และ โออาร์ จะรับซื้อผลผลิตเมล็ดกาแฟในพื้นที่ผ่านโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต และโครงการพัฒนาการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน ตอบโจทย์ในมิติ โอกาสเพื่อคนตัวเล็ก (Small) และ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด (Green)
โรงเพาะกล้ากาแฟ
จากความตั้งใจและเป้าหมายการขยายผลองค์ความรู้การทำงานพัฒนาการปลูกและการผลิตกาแฟ ร่วมกับภาคีเครือข่ายในหลายพื้นที่ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ที่ยังขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะความรู้ได้มีองค์ความรู้ในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน และเพิ่มพื้นที่ป่าผ่านการส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรให้ปลูกและผลิตกาแฟให้ได้ผลผลิตกาแฟที่มีคุณภาพ ควบคู่การอนุรักษ์ธรรมชาติ วิธีการคือ (1) ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพของผลผลิตกาแฟในพื้นที่ปลูกดั้งเดิม (2) ขยายพื้นที่การปลูกกาแฟในพื้นที่ปลูกดั้งเดิมและพื้นที่ปลูกใหม่ และ (3) รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในพื้นที่ เริ่มเดือนมีนาคม ปี 2567

ทั้งนี้ โออาร์ ได้ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่งเสริมการปลูกกาแฟ สร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟอย่างยั่งยืนในพื้นที่ จ.น่าน โดยนำต้นแบบการปลูกกาแฟภายใต้ไม้ร่มเงา (ไม้เศรษฐกิจ) มาส่งเสริมในพื้นที่การปลูกไม้ร่วมเงา รวมถึงช่วยลดการเผาป่าทำไร่เลื่อนลอย ลดการใช้สารเคมียาฆ่าแมลง และยังเป็นช่องทางในการจำหน่ายเมล็ดกาแฟด้วยระบบราคาที่เป็นธรรม (Fair Trade) ทำให้เกษตรกรมีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และตั้งเป้าว่า เกษตรกรจะมีกำไรจากการปลูกกาแฟอะราบิกาต่อไร่ เพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่า (เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโพด) และ เพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่า (เมื่อเทียบกับการปลูกฟักทอง) พร้อมด้วยเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นจากการฟื้นฟูป่าต้นน้ำและป่าเสื่อมโทรม ลดการเผาป่า และลด PM 2.5 ถัดมาเป็นกิจกรรมมอบชุดถังขยะโครงการแยก แลก ยิ้ม ให้กับโรงเรียนดรุณวิทยา เทศบาลเมืองน่าน (บ้านสวนตาล) ซึ่ง โออาร์ ได้ดำเนินโครงการ แยก แลก ยิ้ม มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาครูและนักเรียนให้เกิดความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ในการจัดการขยะรอบตัว

สิ่งที่ โออาร์ เข้ามาเติมเต็มคือ องค์ความรู้เรื่องการจัดการขยะที่ต้นทาง และสร้างความตระหนักทางด้านการรักษาสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านสุขภาวะและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยเสริมสร้างความเป็นพลเมืองที่ดี ในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพด้านชีวิตสังคม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม สำหรับการมอบถังขยะ แยก แลก ยิ้ม ให้กับโรงเรียนดรุณวิทยา นับเป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดโครงการด้านขยะทั้งในระดับชุมชน สังคม และประเทศ อีกทั้งตอบโจทย์ OR SDG มิติโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก (Small) และ โอกาสเพื่อสังคมสะอาด (Green) อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมมอบสิ่งของ เครื่องใช้ให้กับโรงเรียนบ้านปางยาง ตำบลภูคา อำเภอปัว จ.น่าน เพื่อตอบโจทย์ OR SDG มิติโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก (Small) โดยสนับสนุนการดำเนินงานด้านการศึกษา และเพื่อสร้างโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม

การส่งเสริมการศึกษาของ โออาร์ ผ่านโรงเรียนขนาดเล็กอย่างบ้านปางยาง ตำบลภูคา อำเภอปัว ซึ่งพื้นที่ตั้งใกล้เคียงพื้นที่ดำเนินโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ภายใต้นโยบายตลาดนำการผลิต ในรัศมี 1 กิโลเมตร นับเป็นการสร้างระบบนิเวศภายในพื้นที่สวนกาแฟในมิติการศึกษา คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างแท้จริง ทั้งหมดนี้ คือการการันตีถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมผ่านแนวคิดการสร้างความยั่งยืน OR SDG ด้วยการยอมรับต่างๆ ทั้งในระดับสากลและระดับประเทศในปี 2566 โดยเป็นสมาชิกของ DJSI ที่มีผลคะแนนเป็นลำดับที่ 1 ของโลกในกลุ่มอุตสาหกรรม Retailing ได้รับรางวัล Best Sustainability Awards จาก SET Sustainability Awards 2023 และได้รับผลการประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating 2023 ระดับสูงสุด AAA เพราะการมุ่งสู่โอกาสเพื่อสังคมสะอาดและโอกาสเพื่อคนตัวเล็ก คือ milestone ไปสู่ ‘สังคมที่ยั่งยืน’ และ ‘Net Zero’ ภายในปี 2050 (พ.ศ.2593) ตามแนวคิดการสร้างความยั่งยืน “OR SDG ดูแลสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นในทุกๆ วัน” ซึ่งอยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ใหญ่ “เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโตร่วมกัน” หรือ “Empowering All toward Inclusive Growth”
keno online top 10 casino online casino trực tuyến baccarat online tải baccarat