random xúc xắc

ThaiPublica > Sustainability > Headline > กสิกรไทยชูยุทธศาสตร์ Climate ส่งมอบโซลูชันที่มากกว่าแบงก์กิ้ง หนุนธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่โลกใหม่

กสิกรไทยชูยุทธศาสตร์ Climate ส่งมอบโซลูชันที่มากกว่าแบงก์กิ้ง หนุนธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่โลกใหม่

19 มีนาคม 2024
นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย
กสิกรไทยชูยุทธศาสตร์ Climate หนุนภาคธุรกิจเปลี่ยนผ่านและคว้าโอกาส อัดฉีดเม็ดเงินความยั่งยืน แตะ 1 แสนล้านบาท ในปี 67 นี้ โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมครบเครื่อง
ธนาคารกสิกรไทยเปิดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม ปี 2567 ที่จะพาธุรกิจไทยก้าวสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ พร้อมรับมือยุค Climate Game ที่มูลค่าของธุรกิจไม่ได้ขึ้นอยู่เพียงผลกำไรจากธุรกิจดังเดิมแต่มีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยธนาคารเดินหน้าการทำงานสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ทั้งปรับการดำเนินงานของธนาคาร (Green Operation) ด้วยมาตรฐานสากล การส่งมอบสินเชื่อและเงินลงทุนด้านความยั่งยืน (Sustainable Financing and Investment) ที่จะไปสู่ยอด 100,000 ล้านบาท ในปี 2567 นี้ รวมทั้งศึกษาและจัดเตรียมโซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมในทุกมิติที่ภาคธุรกิจต้องการ (Climate Solutions) ทั้งด้านการให้คำปรึกษา การจัดทำ Carbon Accounting การทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิตและระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง (Carbon Ecosystem) เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านพร้อมรับมือกับแรงกดดันด้านกฎระเบียบสิ่งแวดล้อมของโลกและไทยที่เพิ่มขึ้น และตอบรับกับโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น มุ่งสู่เศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน วันที่ 19 มีนาคม 2567 ธนาคารกสิกรไทยจัดแถลงข่าว KBank Climate Strategy 2024 ในหัวข้อ TOGETHER ‘Transitioning Away’Towards a New Way of Business โดย นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย นายพิพิธ เอนกนิธิ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดการแถลงข่าวด้วยการบอกว่า “การเปลี่ยนผ่านจากเชื้อเพลิงฟอสซิล นั้นไม่สามารถทำได้โดยใครคนใดคนหนึ่ง จึงต้องเปลี่ยนผ่านไปด้วยกัน เพื่อให้ทั้งประเทศไทยสามารถประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่าน จึงเป็นที่มาของการแถลงในวันนี้ และการเปลี่ยนผ่านนั้นต้องใช้เวลา ต้องเผื่อไว้นาน เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราคิดในวันนี้ ก็เพื่อวันข้างหน้า” นายพิพิธ เปิดเผยว่า จากการศึกษาในระดับโลกพบว่า หากอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 3.2 องศาเซลเซียสโดยไม่ทำอะไร ก็จะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกประมาณ 18% ของ GDP โลกหรือมากกว่า 18,000 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ความเสียหายที่เกิดจากการระบาดของโควิดต่อเศรษฐกิจโลกนั้นมีสัดส่วนเพียง 3% ของ GDPโลก ส่วนความเสียหายจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้นต่อเศรษฐกิจไทยประเมินว่าจะสูงถึง 44% ของ GDP ไทย หรือ 218 พันล้านดอลลาร์

กติกาโลก-กฎระเบียบในประเทศบีบรอบด้าน

นอกจากนี้การประชุม COP 28 ที่ผ่านมา ประชาคมโลกบรรลุข้อตกลงที่จะเปลี่ยนผ่านระบบพลังงานออกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะส่งแรงกดดันลงไปสู่ภาคธุรกิจในวงกว้าง และประเทศไทยจะเป็นหนึ่งในประเทศที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการเปลี่ยนผ่านด้านสิ่งแวดล้อม (Transition Risk) ด้วยกฎระเบียบทางการค้าที่ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และจีน จะทยอยบังคับใช้เพิ่มขึ้น ได้แก่ กฎหมาย Clean Competition Act ของสหรัฐ ที่กำหนดราคาคาร์บอนจากสินค้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกที่ผลิตในประเทศและจากการนำเข้า ขณะที่สหภาพยุโรปมีมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนหรือ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism)และ European Green Deal แผนการปฏิรูปสีเขียวและมาตรการทางภาษี และ Full life-cycle carbon footprint tracking system ของจีน ทั้งหมดนี้อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าสินค้าส่งออกไทยราว 40-45% หรือราว 114 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งลูกค้าของธนาคารที่เป็นผู้ส่งออกมีจำนวนถึง 30,000 ราย สำหรับธนาคารกสิกรเองปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 5% ของสิ่งที่ธนาคารมีหน้าที่ ส่วนอีก 95% มาจากกลุ่มลูกค้าที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อ หรือปล่อยคาร์บอนมากกว่าธนาคารถึง 480 เท่า โดย ณ สิ้นเดือนมกราคม ธนาคารมีลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่(Super Large Corporates) ลูกค้าธุรกิจ(Corporates) และลูกค้าเอสเอ็มอี(SMEs) รวมกัน 450,000 รายมียอดสินเชื่อรวม 1.7 ล้านล้านบาท นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ….. ของไทยที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา กำหนดให้ภาคธุรกิจต้องวัดผลและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (MRV) มาตรการจำกัดสิทธิผู้ประกอบการเรื่องการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Cap and Trade) มาตรการจัดเก็บภาษีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากสินค้าภาคอุตสาหกรรม (Carbon Tax) รวมถึงการทำธุรกรรมเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะกระทบกับผู้ประกอบธุรกิจในวงกว้าง

ยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม 2567

จากการที่โลกธุรกิจกำลังเข้าสู่ยุค Climate Game ที่ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทำให้สมการธุรกิจเปลี่ยนไป มูลค่าของธุรกิจจากรายได้ธุรกิจแบบดั้งเดิม จะถูกลดทอนด้วยปัจจัยเชิงลบที่ธุรกิจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และจะมีโอกาสเพิ่มขึ้นจากการทำธุรกิจที่ได้ปัจจัยบวกด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ประกอบการจึงต้องตระหนักและปรับตัวให้ทันเพื่อรับมือกับเกมนี้ ธนาคารกสิกรไทยมีความมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนภาคธุรกิจในการปรับตัวรับมือ ด้วยประสบการณ์ ผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้ที่มี จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของธนาคารกสิกรไทย ปี 2567 ด้วยเป้าหมายสำคัญที่จะพาธุรกิจไทยและเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ สามารถปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและคว้าโอกาสไว้ได้ พร้อมสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว นายพิพิธกล่าว “เราช่วยอะไรได้บ้าง ลูกค้าต้องปรับตัว ธนาคารเองได้ปรับตัวด้วยการเริ่มเมื่อสิบปีที่แล้ว ตั้งแต่ปี 2555 โดยในช่วงปี 2555-2557 ได้มีการจัดทำ SD รายงาน การวางนโยบาย ต่อมาได้ประกาศความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2564 ด้วยเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์จากการดำเนินงานของธนาคาร (ขอบเขตที่ 1 และ 2)ภายในปี 2573 พร้อมกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร สอดคล้องกับเป้าหมายประเทศ และปล่อยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืนอย่างน้อย 1-2 แสนล้านบาท สนับสนุนลูกค้าเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593” นายพิพิธกล่าว

  • “กสิกรไทย” แบงก์แรกของไทย ประกาศปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ปี 2030
  • โดยธนาคารดำเนินการผ่านกลยุทธ์หลัก ดังนี้

    เริ่มด้วยการลดก๊าซเรือนกระจกจากการทำงานของธนาคาร
    กลยุทธ์ที่ 1 Green Operation – ธนาคารปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินงานของตัวเอง ด้วยความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานของธนาคาร (Scope 1-2) เป็น Net Zero ด้วยมาตรฐานสากล โดยธนาคารเริ่มมีการพัฒนาระบบข้อมูลก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา จึงได้สั่งสมประสบการณ์ตรงจากการลงมือทำจริง โดยมีผลการทำงานถึงปัจจุบัน ได้แก่ ธนาคารมีการติดตั้ง Solar Rooftop ที่อาคารหลักของธนาคาร 7 แห่ง ครบ 100% และติดตั้งที่สาขาด้วยแล้วซึ่งจะมีจำนวน 78 สาขา ภายในเดือน มิถุนายน 2567 นี้ มีการเปลี่ยนรถยนต์ที่ใช้ในธุรกิจธนาคารจากรถยนต์สันดาปเป็นรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว 183 คัน

    การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่เกิดขึ้น ธนาคารสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 ลดได้ 12.74% เมื่อเทียบปีฐาน (2563) มีการจัดการด้านคาร์บอนเครดิต โดยเป็นกลางทางคาร์บอนมาแล้ว 6 ปีต่อเนื่อง (2561-2566) และตั้งเป้าหมายเป็น Net Zero ใน Scope 1 & 2 ภายในปี 2573

  • กสิกรไทยเดินหน้า Net Zero ใช้รถ EV บริการแลกเงินตราต่างประเทศ-บัตรเครดิต-เดบิตผลิตจากวัสดุรีไซเคิล
  • ช่วยลูกค้าด้วยการเงินสีเขียว
    กลยุทธ์ที่ 2 Green Finance – ธนาคารนำความแข็งแกร่งด้านสินเชื่อและเงินลงทุน สนับสนุนภาคธุรกิจในการเปลี่ยนผ่านอย่างครบวงจร ได้แก่ 1.การให้สินเชื่อด้านสิ่งแวดล้อม (Green Loan) และการให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจในการเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance) 2.การจัดสรรเงินลงทุนของธนาคารในธุรกิจและสตาร์ตอัพที่สร้างผลกระทบเชิงบวก 3. การนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนทั้งของธนาคารและพันธมิตรระดับโลกเพื่อดึงดูดเม็ดเงินการลงทุนไปสนับสนุนธุรกิจที่คำถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม (ESG) โดยธนาคารส่งมอบเม็ดเงินสินเชื่อและเงินลงทุนเพื่อความยั่งยืนไปแล้ว 73,397 ล้านบาท (ปี 2565-2566) และคาดว่าจะมียอดรวมเป็น 100,000 ล้านบาท ภายในปี 2567 นี้ และจะเป็น 200,000 ล้านบาท ภายในปี 2573 ตามเป้าหมาย

    “เราไม่สามารถปล่อยสินเชื่อเหมือนที่เราเคยทำมาตั้งแต่เปิดธนาคาร เราเริ่มทำ Green Finance, green bond หรือทำ transitioning finance ซึ่งให้สินเชื่อไปแล้วกว่า 73,000 ล้านบาท” นายพิพิธกล่าว การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกที่เกิดขึ้น ภายใต้กลยุทธ์นี้มีจุดชี้วัดหลัก (KPI) ประการหนึ่ง คือ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพอร์ตโฟลิโอ (Portfolio Emission) ของอุตสาหกรรมหลักที่ธนาคารให้ความสำคัญในการควบคุมและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้วางแผนกลยุทธ์รายอุตสาหกรรม (Sector Decarbonization Strategy) ไปแล้ว 5 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติต้นน้ำ กลุ่มเหมืองถ่านหินประเภทเชื้อเพลิงให้ความร้อน กลุ่มซีเมนต์ และกลุ่มอลูมิเนียม โดยพบว่ามีความคืบหน้าที่วัดผลได้ อาทิ พอร์ตโฟลิโออุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า ซึ่งธนาคารสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว จำนวน 3,800 ล้านบาท ปัจจุบันธนาคารมีระดับความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Intensity per GWh) ในพอร์ตนี้ลดลง 5% ในปี 2566 เมื่อเทียบกับปีฐาน (2563) ซึ่งสอดคล้องกับแผนที่วางไว้

    “ในปีนี้ธนาคารกำลังทำงานเพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายการลดคาร์บอนสำหรับภาคส่วนอื่นๆ ที่มีระดับความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น บรรจุภัณฑ์และงานพิมพ์ ผลิตภัณฑ์เคมี ยายนต์และชิ้นส่วน อุตสาหกรรมขนส่ง ภาคเกษตร เป็นต้น” นายพิพิธกล่าว

    บูรณาการศักยภาพ ส่งมอบโซลูชันที่มากกว่าแบงก์กิ้ง
    นายพิพิธ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในภาพรวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของธนาคาร ส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในพอร์ตโฟลิโอของธนาคาร ซึ่งคิดเป็น 480 เท่า ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินการโดยตรงของธนาคาร (Own Operation – Scope 1 & 2) ดังนั้น ธนาคารจึงปรับกลยุทธ์และเร่งสร้างเครื่องมือสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผู้ประกอบการ สอดคล้องกับภาครัฐที่เห็นความจำเป็นและมีส่วนช่วยผลักดันการขับเคลื่อนภาคธุรกิจในเรื่องนี้

    นอกจากนี้ ธุรกิจที่ต้องปรับตัวด้านสิ่งแวดล้อมได้สะท้อนความต้องการรับการสนับสนุนจากธนาคารในมิติที่มากกว่าการเงิน ทั้งเรื่องความรู้ด้าน ESG เพื่อธุรกิจ บริการให้คำปรึกษาเชิงเทคนิค และการจับคู่ธุรกิจกลุ่ม ESG ธนาคารกสิกรไทยจึงมีการบูรณาการศักยภาพทั้งโซลูชัน องค์ความรู้ และเทคโนโลยี เพื่อยกระดับการทำงานทั้งของธนาคารเองและการทำงานของลูกค้า ผ่านกลยุทธ์การทำงานเพื่อการส่งมอบบริการที่มากกว่าการเงิน

    “ผมคิดว่าเป็นการเข้าสู่ธุรกิจแบบใหม่ ซึ่งค่อนข้างไปไกลกว่าแบงก์ที่เราเคยเห็น และจากการสำรวจความเห็นลูกค้า พบว่า ลูกค้าคาดหวังให้แบงก์ทำหน้าที่มากกว่าที่แบงก์เคยทำ”นายพิพิธกล่าว

    กลยุทธ์ที่ 3 Climate Solutions – โซลูชันด้านสิ่งแวดล้อมอย่างครบวงจรโดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตร ประกอบด้วย โซลูชันการส่งมอบความรู้และคำแนะนำ (Knowledge Provider) ที่บูรณาการองค์ความรู้จากสถาบันชั้นนำ การพัฒนาโซลูชันเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับลูกค้าทั้งบุคคลและผู้ประกอบการ (Reduction Solution) โดยทดลองออกบริการนำร่องแล้ว ได้แก่ WATT’S UP เป็นแพลต์ฟอร์มรองรับการเช่ารถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจร รวมถึงบริการสลับแบตเตอรี่ผ่านจุดบริการ ปัจจุบัน มีผู้ใช้งาน 367 ราย โดยในปี 2567 คาดว่าจะมีรุ่นรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าให้บริการมากกว่า 10 รุ่น ขยายตู้สลับแบตเตอรี่เป็นกว่า 70 สาขา ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล และ“ปันไฟ” (Punfai) เป็นแอปพลิเคชันที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทยและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) พัฒนาแอปพลิเคชันแลกเปลี่ยนไฟฟ้าแห่งแรกของไทยที่ตอบโจทย์การใช้งานครบทุกมิติ รองรับการใช้งานทั้งภาคประชาชนและภาคธุรกิจ

    นอกจากนี้ ธนาคารนำประสบการณ์กว่า 10 ปี ในการวัด Carbon Footprint ของธนาคาร มาใช้เพื่อเตรียมพัฒนาโซลูชันใหม่ที่จะช่วยผู้ประกอบการเรื่องการวัดผล รายงาน และตรวจสอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon MRV) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานระดับประเทศและระดับสากล

    กลยุทธ์ที่ 4 Carbon Ecosystem – ธนาคารเตรียมความพร้อมในการเชื่อมต่อใน Carbon Ecosystem เพื่อการพัฒนาบริการไปอีกขั้น ในธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคาร์บอนเครดิต โดยศึกษาและดำเนินการซื้อคาร์บอนเครดิตสำหรับการชดเชยทางคาร์บอนของธนาคารและบริษัทในกลุ่มฯ เพื่อสนับสนุนคาร์บอนเครดิตที่มีคุณภาพ และมีความมุ่งหวังที่จะเป็นตัวอย่างและร่วมผลักดันให้ตลาดคาร์บอนเครดิตของประเทศไทยเติบโตและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

    “เราซื้อคาร์บอนเครดิตจากอบก.มาเป็นเวลา 6 ปีเพื่อสร้างตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศไทย” นายพิพิธกล่าว นอกจากนี้ ธนาคารได้มีการเปิดตัวแพลตฟอร์มขึ้นทะเบียนและขายใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ที่เป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารกสิกรไทย และ Innopower เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนรายย่อยและธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป ขึ้นทะเบียนและขายใบรับรอง REC ได้ รวมถึงธนาคารได้ศึกษาและเตรียมแนวทางในมิติอื่น ๆ ของระบบนิเวศด้านคาร์บอนเครดิต เช่น การเป็นตัวแทนซื้อขายคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Broker / Dealer) การออกโทเคนคาร์บอนเครดิต (Carbon Credit Tokenization)

    เชื่อมต่อภาคส่วน จับมือทุกคนทำไปด้วยกัน
    นายพิพิธ กล่าวตอนท้ายว่า การทำงานด้าน Climate Change ในระดับประเทศให้บรรลุผลได้นั้น ต้องอาศัยพลังจากทุกคนร่วมมือทำสิ่งนี้ไปด้วยกัน จึงจะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง และธนาคารกสิกรไทยพร้อมที่จะเป็นจุดเชื่อมต่อ”ของภาคธุรกิจ ลูกค้า ผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบาย องค์กรแหล่งความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม ตลอดจนภาคการเงินและตลาดทุน บูรณาการศักยภาพ ต่าง ๆ เพื่อส่งมอบเครื่องมือ ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจไทยให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกธุรกิจรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงคว้าโอกาสที่จะเกิดขึ้นในเศรษฐกิจการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ไปด้วยกัน

    keno online top 10 casino online casino trực tuyến baccarat online tải baccarat