random xúc xắc

ThaiPublica > ประเด็นสืบสวน > วิกฤติอุตสาหกรรมยาสูบ (1) : 7 ปี รื้อภาษีบุหรี่ โรงงานยาสูบฟุบ

วิกฤติอุตสาหกรรมยาสูบ (1) : 7 ปี รื้อภาษีบุหรี่ โรงงานยาสูบฟุบ

5 กุมภาพันธ์ 2024

อัพเดท! สถานการณ์อุตสาหกรรมยาสูบไทย 7 ปี คลังรื้อภาษี 2 ครั้ง ทำยอดขายบุหรี่ทั้งตลาดหายเกือบ 15,000 ล้านมวน โรงงานยาสูบอาการหนักสุด สูญเสียส่วนแบ่งการตลาด ให้บุหรี่นอกไป 27% กำไรลดลง 99%
ปีนี้เข้าปีที่ 7 หลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบปรับโครงสร้างอัตราภาษีบุหรี่ครั้งใหญ่เมื่อปี 2560 โดยปรับเปลี่ยนวิธีจัดเก็บภาษีสรรพสามิต จากเดิมเก็บภาษีแค่อัตราเดียว (Single Rate) เปลี่ยนมาเป็นการจัดเก็บภาษีอัตราผสม (Compound Rate) โดยจัดเก็บภาษีตามปริมาณ (Specific Rate) กับบุหรี่ทุกยี่ห้อ มวนละ 1.20 บาท หรือ ซองละ 24 บาทก่อน จากนั้นกรมสรรพสามิตก็เก็บภาษีตามมูลค่าอีก (Ad Valorem Rate) โดยแยกออกเป็น 2 อัตรา หรือ “2 Tiers” ที่คำนวณภาษีบนฐานราคาขายปลีกแนะนำซึ่งกำหนดโดยกรมสรรพสามิต (อ้างอิงมาจากต้นทุนการผลิต หรือ ต้นทุนนำเข้าบุหรี่ที่ผู้ประกอบการแจ้งต่อกรมสรรพสามิต) รายละเอียดมีดังนี้
    (1) บุหรี่ที่ตั้งราคาขายปลีกไม่เกินซองละ 60 บาท เสียภาษีตามมูลค่าในอัตรา 20% ของราคาขายปลีกแนะนำ โดยให้เวลาผู้ประกอบการกลุ่มตลาดล่างปรับตัว 2 ปี หลังจากวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป กรมสรรพสามิตจะเก็บภาษีตามมูลค่าในอัตรา 40% ของราคาขายปลีกแนะนำ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การจัดเก็บภาษีอัตราเดียวในอนาคต

    (2) บุหรี่ที่ตั้งราคาขายปลีกเกินซองละ 60 บาท เสียภาษีที่อัตรา 40% ของราคาขายปลีกแนะ

การปรับโครงสร้าง และปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีบุหรี่ครั้งนั้น ทำให้โครงสร้างของตลาดบุหรี่เดิมมี 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) กลุ่ม Saving Price 2) กลุ่ม Regular Price และ 3) กลุ่ม Premium Price ปัจจุบันลดลงเหลือแค่ 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม Saving Price และกลุ่ม Premium Price ตามโครงสร้างภาษีและฐานราคาขายปลีกที่กำหนดโดยกรมสรรพสามิต ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถขายบุหรี่ราคาถูก ต่ำกว่าซองละ 42 บาทได้อีกต่อไป เนื่องจากมูลค่าภาษีที่ต้องชำระมันมากกว่าราคาขายปลีก บุหรี่ตลาดล่างซองละ 40 บาท จึงขยับขึ้นมาเป็นซองละ 58 – 60 บาท แต่ก็มีบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศบางยี่ห้อปรับราคาลดลง ก่อนที่โครงสร้างอัตราภาษีบุหรี่ตลาดล่างจะปรับขึ้นมาเป็น 40% ในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ตามที่กล่าวข้างต้น ที่ประชุม ครม.วันที่ 28 กันยายน 2564 ก็มีมติเห็นชอบให้มีการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่เป็นครั้งที่ 2 โดยปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้น ทั้งการจัดเก็บภาษีตามปริมาณจากเดิมมวนละ 1.20 บาท เพิ่มขึ้นเป็นมวนละ 1.25 บาท หรือ เก็บภาษีตามปริมาณซองละ 25 บาท รวมทั้งปรับราคาขายปลีกแนะนำที่จะนำไปใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี จากเดิมซองละ 60 บาท เพิ่มเป็น 72 บาท และปรับขึ้นอัตราภาษีตามมูลค่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
    (1) บุหรี่ที่ตั้งราคาขายปลีกไม่เกินซองละ 72 บาท เสียภาษีตามมูลค่าในอัตรา 25% ของราคาขายปลีกแนะนำ

    (2) บุหรี่ที่ตั้งราคาขายปลีกเกินซองละ 72 บาท เสียภาษีที่อัตรา 42% ของราคาขายปลีกแนะ

นอกจากนี้ที่ประชุม ครม.ยังมีมติเห็นชอบให้จัดเก็บภาษียาเส้นที่มีปริมาณการผลิตไม่เกิน 12,000 กิโลกรัมต่อปี ในอัตรา 0.025 บาทต่อกรัม และยาเส้นที่มีปริมาณการผลิตเกิน 12,000 กิโลกรัม ในอัตราที่ 0.10 บาทต่อกรัม โดยโครงสร้างภาษีบุหรี่ดังกล่าวนี้ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อรองรับกับการจัดเก็บภาษีตามมูลค่าแบบอัตราเดียวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แต่ไม่ได้ระบุว่าจะเริ่มเก็บภาษีอัตราเดียวเมื่อไหร่เหมือนครั้งแรก หลังจากที่กระทรวงการคลังปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ 2 ครั้งในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมบุหรี่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) หรือ “โรงงานยาสูบ” ได้รับผลรับผลกระทบหนักที่สุด เนื่องจากผู้บริโภคของโรงงานยาสูบ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย หลังรัฐบาลปรับขึ้นภาษีบุหรี่ ผู้บริโภคกลุ่มนี้ก็ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหันไปซื้อสินค้าทดแทนที่มีราคาถูกกว่ามาบริโภค อาทิ บุหรี่ต่างประเทศ ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับบุหรี่ของโรงงานยาสูบ , ยาเส้นซองละ 10-15 บาท , บุหรี่ไฟฟ้า และบุหรี่เถื่อน ที่วางขายตามตลาดนัด และตลาดออนไลน์ ซองละ 20-30 บาท เป็นต้น ย้อนหลังกลับไปในปี 2560 ก่อนที่กรมสรรพสามิตปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่เป็น 2 อัตรา พร้อมกับนำระบบราคาขายปลีกแนะนำมาใช้เป็นฐานคำนวณภาษี ตลาดบุหรี่มียอดขายทั้งหมดประมาณ 36,436 ล้านมวน โงงานยาสูบครองส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) ประมาณ 79.06% ของยอดขายทั้งหมด และบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศมีส่วนแบ่งการตลาด 20.94% ของยอดขายทั้งหมด

หลังจากกรมสรรพสามิตปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ครั้งแรก ในปี 2561 ยอดจำหน่ายบุหรี่ทั้งตลาดลดลงเหลือ 31,010 ล้านมวน ส่งผลทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของโรงงานยาสูบจาก 79.06% ลดลงเหลือ 59.68% ของยอดขายทั้งหมด ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดของบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศเดิมมีแค่ 20.94% เพิ่มขึ้นเป็น 40.32% ของยอดขายทั้งหมด ทั้งนี้ เนื่องจากการปรับโครงสร้างภาษีรอบนี้มีบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศ 3 ยี่ห้อ ราคาถูกลง ผู้บริโภคจึงหับไปซื้อบุหรี่ต่างประเทศที่ให้ความรู้สึกคุ้มค่า และราคาถูกกว่ามาบริโภคแทน ปี 2562 ยอดขายบุหรี่ทั้งตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 32,047 ล้านมวน แต่ส่วนแบ่งการตลาดของโรงงานยาสูบยังลดลงเหลือ 58.24% ของยอดขายบุหรี่ทั้งหมด ส่วนบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศ เพิ่มขึ้นเป็น 41.76% ของยอดขายบุหรี่ทั้งหมด ปี 2563 ยอดจำหน่ายบุหรี่โดยรวมลดลงเหลือ 31,528 ล้านมวน แต่ส่วนแบ่งการตลาดของโรงงานยาสูบลดลงเหลือ 55.54% ของยอดขายทั้งหมด ขณะที่ยอดขายของบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศเพิ่มเป็น 44.46% ของยอดขายทั้งหมด ปี 2564 แม้จะเกิดสถานการณ์ไวรัส โควิด แพร่ระบาดมาอย่างต่อเนื่องจากปี 2563 แต่ยอดขายบุหรี่โดยรวม เพิ่มเป็น 34,417 ล้านมวน แต่ส่วนแบ่งการตลาดของโรงงานยาสูบยังปรับตัวลดลงเหลือแค่ 54.41% ของยอดขายทั้งหมด ส่วนบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มเป็น 45.59% ของยอดขายทั้งหมด จากนั้นในปี 2564 กรมสรรพสามิตได้ปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ครั้งที่ 2 ประกอบกับสถานการณ์โควิดฯที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างรุนแรงต่อเนื่องมาจากปี 2563 บริษัทห้างร้านปิดกิจการ คนตกงานเป็นจำนวนมาก ส่งผลทำให้ยอดขายบุหรี่โดยรวมในปี 2564 ลดลงเหลือ 26,788 ล้านมวน ซึ่งในปีนี้โรงงานยาสูบมีส่วนแบ่งการตลาดลดลงเหลือ 50.18% แต่ส่วนแบ่งการตลาดของบุหรี่นำเข้าเพิ่มขึ้นเป็น 49.82% และล่าสุดในปี 2566 ยอดขายบุหรี่ทั้งตลาดเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยมียอดขายรวมอยู่ที่ 26,865 ล้านมวน ปีนี้โรงงานยาสูบมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 52.29% เนื่องจากโรงงานยาสูบมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของบุหรี่นำเข้าลดลงเหลือ 47.71%

จากการที่โรงงานยาสูบเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศ และอีกส่วนหนึ่งหันไปบริโภคสินค้าทดแทน ส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของโรงงายาสูบ ทั้งยอดจำหน่ายบุหรี่ กำไรปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จนแทบไม่เหลือเงินรายได้ที่จะนำส่งกระทรวงการคลัง จากเดิมก่อนปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ ในปี 2560 โรงงานยาสูบมียอดจำหน่ายบุหรี่อยู่ที่ 28,807 ล้านมวน หรือ 1,440 ล้านซอง กำไรจากการดำเนินงาน 9,343 ล้านบาท เฉลี่ยกำไรต่อซองอยู่ที่ 6.49 บาท ปี 2561 หลังปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ครั้งที่ 1 ยอดขายบุหรี่ของโรงงานยาสูบลดลงเหลือ 18,508 ล้านมวน หรือลดลงไปประมาณ 925 ล้านซอง กำไรต่อซองลดลงเหลือ 0.91 บาท ทำให้กำไรจากการดำเนินงานโดยรวมลดลงจาก 9,3434 ล้านบาท เหลือ 843 ล้านบาท ปี 2562 ยอดขายบุหรี่ของโรงงานยาสูบอยู่ที่ 18,612 ล้านมวน หรือ 931 ล้านซอง กำไรต่อซองเหลือ 0.55 บาท ทำให้กำไรจากการประกอบธุรกิจลดลงเหลือ 513 ล้านบาท ปี 2563 ยอดขายบุหรี่ลดลงเหลือ 17,473 ล้านมวน หรือประมาณ 874 ล้านซอง แต่กำไรต่อซองเพิ่มขึ้นเป็น 0.63 บาท ทำให้กำไรจากการประกอบธุรกิจ เพิ่มขึ้นเป็น 550 ล้านบาท ปี 2564 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 18,687 ล้านมวน หรือประมาณ 934 ล้านซอง กำไรต่อซองเพิ่มขึ้นเป็น 1.11 บาท ทำให้กำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเป็น 1,041 ล้านบาท

แต่หลังจากที่มีการปรับโครงสร้างอัตราภาษีบุหรี่ครั้งที่ 2 ปี 2565 โรงงานยาสูบมียอดขายบุหรี่ลดลงเหลือ 13,332 ล้านมวน หรือประมาณ 666 ล้านซอง กำไรต่อซองลดลงเหลือ 0.18 บาท ส่งผลทำให้กำไรจากการดำเนินธุรกิจลดลงเหลือแค่ 120 ล้านบาท และผลประกอบการล่าสุดในปี 2566 โรงงานยาสูบมียอดขายบุหรี่เพิ่มขึ้นเป็น 14,028 ล้านมวน หรือประมาณ 701 ล้านซอง กำไรต่อซองปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 0.31 บาท ทำให้กำไรจากการประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้นเป็น 219 ล้านบาท

รวมผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ 2 ครั้ง ในรอบ 7 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ ปี 2560 – ปัจจุบัน โรงงานยาสูบเสียส่วนแบ่งการตลาดให้กับบุหรี่นำเข้าจากต่างประเทศไปแล้ว 26.77% กำไรลดลง 98.97% ขณะที่ยอดจำหน่ายบุหรี่ทั้งตลาดลดลงไป 14,780 ล้านมวน หรือ ลดลงจกาปี 2560 ไปประมาณ 51.31% ถามว่ายอดจำหน่ายบุหรี่ที่ลดลงนั้น หายไปไหน คนไทยสูบบุหรี่กันน้อยลงจริง หรือ ไม่ และมีผลกระทบต่อห่วงโซ่ซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยาสูบไทยอย่างไร ติดตามตอนต่อไป…

  • สรรพสามิต แจงขึ้นภาษีบุหรี่ยกแผง-เว้นยาเส้น เริ่ม 1 ต.ค.นี้
  • เปิดราคาบุหรี่-เหล้า-เบียร์ หลังสรรพสามิตขยับโครงสร้างภาษี
  • คลังเตรียมขึ้นภาษียาสูบ คาดบุหรี่เถื่อนทะลัก-ยอดขายยาเส้นกระฉูด
  • สหภาพยาสูบบุกคลัง ค้านขึ้นภาษีบุหรี่ เฟส 2 ดันราคาเพิ่มซองละ 8-10 บาท
  • รื้อโครงสร้างภาษียาสูบ (1): สำรวจตลาดบุหรี่เมืองไทย ทำไมมีแค่ 2 ราคา?
  • รื้อโครงสร้างภาษียาสูบ (2): 3 ปี ภาษีบุหรี่ 2 อัตรา ใครกระทบบ้าง?
  • รื้อโครงสร้างภาษียาสูบ (3): แนะทางรอดยาสูบ จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ
  • keno online top 10 casino online casino trực tuyến baccarat online tải baccarat