random xúc xắc

ThaiPublica > คอลัมน์ > การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม (ตอนที่ 3): พื้นที่(เสมือน)สาธารณะและการแก้ปัญหาโดยชุมชน

การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม (ตอนที่ 3): พื้นที่(เสมือน)สาธารณะและการแก้ปัญหาโดยชุมชน

13 ธันวาคม 2018

ลัษมณ ไมตรีมิตร
นักศึกษาปริญญาเอกทางด้านภูมิสถาปัตยกรรม University of Illinois at Urbana-Champaign

พื้นที่สาธารณะ เช่น ห้างสรรพสินค้า ลานกิจกรรม หรือสนามกีฬา ที่เราพบเห็นได้ทั่วไปในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่อื่นๆ นั้นเป็นเพียงพื้นที่(เสมือน)สาธารณะ ที่เกิดขึ้นภายใต้การควบคุมของรัฐหรือภายใต้กลยุทธ์ทางธุรกิจโดยเจ้าของทุน แม้พื้นที่เหล่านี้จะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ถูกใช้งานเพื่อการสันทนาการและการพักผ่อนหย่อนใจของคนหมู่มาก และเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนได้โดยทั่วไป เช่นเดียวกับ แต่ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะที่ควรเป็นสิ่งพื้นฐานของเมืองใน ของการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยองค์การสหประชาชาติ เพราะขาดการมีส่วนรวมในการจัดการพื้นที่ที่นำไปสู่ความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน อันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้พื้นที่สาธารณะของชุมชนมีความยั่งยืน
ภาพที่ 1 ภาพของพื้นที่สาธารณะที่มีกิจกรรมที่หลากหลาย ถูกออกแบบโดยสัมพันธ์กับพื้นที่และตอบสนองการใช้งานของชุมชนที่ถูกวาดโดยนักออกแบบ
ที่มาภาพ: //www.thedailystar.net/in-focus/news/public-space-makes-city-1653046

พื้นที่ภายใต้การควบคุมโดยรัฐ

เมื่อกล่าวถึงความต้องการพื้นที่สาธารณะเพื่อสร้างเมืองที่ยั่งยืน เรามักมุ่งเป้าหมายไปที่การเรียกร้องให้รัฐยื่นมือเข้ามาจัดการกับพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเรียกร้องให้รัฐเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง พื้นที่โล่งเพื่อสันทนาการ พื้นที่เพื่อกิจกรรมทางสังคม หรือให้รัฐเข้ามาควบคุมดูแลความเรียบร้อยของพื้นที่ แนวคิดที่ให้รัฐเป็นผู้จัดหาพื้นที่สาธารณะให้นั้น เลียนแบบมาจากวิธีคิดถึงพื้นที่สาธารณะในลักษณะของเมืองสมัยใหม่ (modern city) โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ที่มีการเพิ่มพื้นที่เพื่อกิจกรรมสาธารณะในเมืองเพื่อสร้างประชาชนให้เป็นไปในลักษณะที่รัฐต้องการ แน่นอนว่าสิ่งที่รัฐจัดหาให้ได้นั้นเป็นพื้นที่ส่วนกลางที่เกิดจากอำนาจการตัดสินใจของรัฐ และถูกควบคุมโดยเครื่องมือทางการจัดการไม่ว่าจะเป็นข้อกำหนดทางผังเมืองหรือกฎเกณฑ์ต่างๆ แม้ประชาชนอาจได้รับอำนาจในการร่วมตัดสินใจ แต่ก็เป็นเพียงในจุดเล็กๆ ที่ไม่มีผลกับโครงสร้างหลักของอำนาจรัฐ
ภาพที่ 2 พื้นที่สาธารณะเพื่อการสันทนาการในยุคแรก ๆ ของอเมริกาเกิดขึ้นจากความต้องการของรัฐในการสร้างประชาชนที่มีลักษณะตามที่รัฐต้องการในภาพเป็นการออกกำลังกายกลางแจ้ง ที่ West 59th Street Park Playground and Boys Gymnasium, ในปี 1912
ที่มาภาพ: Annual Report Bureau of Recreation, Department of Parks, 1912. //www.nycgovparks.org/about/history/recreation
อำนาจของรัฐที่มากำหนดการใช้พื้นที่สาธารณะอาจมีทั้งการกระตุ้นให้คนออกมาทำกิจกรรมร่วมกันภายใต้การจับตามองของรัฐ เช่น พื้นที่ออกกำลังกายในสมัยยุคสงครามเย็นที่รัฐบาลอเมริกาสร้างขึ้นเพื่อควบคุมกวดขันประชาชน หรือการห้ามไม่ให้มีการรวมกลุ่มกันเกินกว่าจำนวนที่กำหนดอย่างที่รัฐบาลทหารออกเป็นข้อกำหนดเฉพาะกาล ไปจนถึง ทั้งหมดนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนเป็นรูปธรรมว่าพื้นที่สาธารณะที่รัฐจัดหาให้นั้นไม่ได้มีไว้สำหรับทุกคน แต่ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงอำนาจควบคุมประชาชน
ภาพที่ 3 ศิลปินนาม Fakir ได้ออกมาตั้งคำถามถึงการออกแบบเก้าอี้สาธารณะที่ป้องกันการใช้งานของคนกลุ่มที่รัฐไม่ปรารถนา (สามารถติดตามผลงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ที่ ) ที่มาภาพ: //99percentinvisible.org/episode/unpleasant-design-hostile-urban-architecture/

พื้นที่สาธารณะในระบบทุนนิยม

นอกเหนือไปจากพื้นที่สาธารณะที่รัฐเป็นผู้จัดสร้างและควบคุมภายใต้อำนาจทางการเมือง พื้นที่สาธารณะที่เกิดขึ้นการจัดการของกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจเป็นพื้นที่สาธารณะอีกแบบหนึ่งที่น่าสนใจ และมีแนวโน้มว่าอาจเป็นทางเลือกในการจัดการพื้นที่สาธารณะของเมืองที่กำลังเติบโต แต่เมื่ออำนาจการจัดการพื้นที่ถูกผูกติดอยู่กับอำนาจทุนในระบบทุนนิยมแล้ว การสร้างพื้นที่สาธารณะที่เปลี่ยนมือไปอยู่ในกลุ่มทุนย่อมมีเหตุผลในการกระตุ้นการขาย อย่างเช่นการออกแบบห้างสรรรพสินค้าโดยมีพื้นที่ส่วนกลางไว้สำหรับเป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ เป็นการสร้างโอกาสในการขายโดยชักจูงให้คนใช้เวลานานขึ้นในพื้นที่โครงการ การจัดงานต่างๆ ก็เพื่อให้มีคนมาใช้พื้นที่โครงการมากขึ้น ซึ่งบางครั้งก็หมายถึงการเพิ่มแนวโน้มของกลุ่มผู้ซื้อ หรือการสอดแทรกพื้นที่ขายไปกับพื้นที่กิจกรรม(กึ่ง)สาธารณะที่มีกลุ่มทุนหนุนหลังเป็นวิธีการโฆษณา แม้ว่าการเพิ่มพื้นที่สาธารณะให้กับเมืองจะเป็นจุดเล็กๆ ของการตอบแทนให้สังคมของภาคธุรกิจ แต่การออกแบบพื้นที่ลักษณะนี้ ล้วนแต่มีเหตุผลทางการตลาดรองรับจึงไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริงเช่นเดียวกัน
ภาพที่ 4 ลานริมน้ำที่ทำหน้าที่เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวกรุงเทพฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มักเป็นพื้นที่ที่เกิดจากกลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่ถึงแม้จะช่วยเพิ่มทางเลือกให้ประชนชน แต่ก็เอื้อให้เกิดโอกาสในการซื้อสินค้าและบริการของโครงการสูงขึ้น ที่มาภาพ: //www.khaosodenglish.com/news/bangkok/2016/06/27/bangkoks-crowded-riverfront-see-yet-another-big-mall/
เมื่อหันกลับมามองโครงการพัฒนาพื้นที่ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระยะไม่เกิน 10 ปีมานี้ในกรุงเทพมหานคร จะเห็นได้ว่า โครงการที่เกิดขึ้นส่วนมากเป็นโครงการที่พัฒนาโดยกลุ่มทุน เช่น โครงการ Asiatique หรือ ห้างสรรพสินค้า Central World ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นโดยใช้พื้นที่(เสมือน)สาธารณะเป็นกลยุทธ์ในการเพิ่มการขายตามหลักการทางธุรกิจเป็นสำคัญ พื้นที่เปิดโล่งหรือพื้นที่สีเขียวเหล่านี้มีข้อกำหนดในการใช้งานชัดเจน ยืนตัวโดดเดี่ยวเพื่อรองรับโครงการและไม่เกิดการเชื่อมต่อกับพื้นที่ของเมือง รวมทั้งถึงแม้จะเป็นพื้นที่ที่ประชาชนได้ใช้พักผ่อนหย่อนใจ แต่ก็ไม่ใช่พื้นที่สาธารณะที่จะนำไปสู่ชุมชนเมืองที่ยั่งยืน

นอกเหนือไปจากนั้น โครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะต่างๆ เช่น การจัดทำสวนหย่อมขนาดเล็กตามพื้นที่เศษเหลือจากการตัดถนน หรือโครงการสวนสาธารณะป้อมมหากาฬ ที่นำเสนอโดยรัฐบาลเอง ยิ่งตอกย้ำความไม่เข้าใจถึงการสร้างความเป็นสาธารณะของพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และเป็นเพียงแค่การตกแต่งพื้นที่ว่างโดยไม่มีความหมายใดใดต่อชุมชนเมืองเลย

พื้นที่(เสมือน)สาธารณะเหล่านี้ถูกออกแบบโดยสอดแทรกการควบคุมของรัฐหรือการกระตุ้นการซื้อจากเจ้าของทุน จึงไม่อาจแก้ไขปัญหาความต้องการพื้นที่ส่วนกลางที่ช่วยลดความหนาแน่นของเมืองที่กำลังขยายตัวและทำหน้าที่ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชากรเมืองที่กำลังเพิ่มขึ้นได้

พื้นที่สาธารณะของชุมชน

การออกแบบพื้นที่สาธารณะที่จะช่วยรองรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องการการมีส่วนร่วมจากชุมชน และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน (participatory and inclusive) ผู้เขียนจึงขอเสนอแนวคิดที่ว่าการสร้างพื้นที่เพื่อคนทุกคน (inclusive space) นั้นควรเกิดจากการร่วมมือ (participatory) ของสมาชิกในชุมชน โดยรูปแบบที่ชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างและจัดการพื้นที่สาธารณะนั้นอาจนำมาจากการเรียนรู้เรื่องพื้นที่สาธารณะของสังคมในอดีต

ภาพที่ 5 พื้นที่หน้าอาคารร้านค้าในอิทธิพลศิลปะยุคอาณานิคมที่ผสมผสานระหว่างจีนกับตะวันตก จะมีการเว้นพื้นที่หน้าอาคารไว้เพื่อใช้เป็นทางเดินสาธารณะ ทั้งยังใช้เป็นพื้นที่สร้างปฏิสัมพันธ์ในชุมชนค้าขายอีกด้วย
ที่มาภาพ: //w.pantip.com/cafe/gallery/topic/G1759400/G1759400.html

ตัวอย่างแรก ในอาคารร้านค้าชาวจีนในยุคอิทธิพลอาณานิคมตะวันตก ที่มีการเว้นระยะจากขอบอาคารเข้ามาเป็นทางเดินยาวต่อเนื่องกัน ในบางลักษณะอาคาร พื้นที่ทางเดินลักษณะนี้ถูกเรียกว่า อาเขต ตามที่มาของลักษณะโครงสร้างดั้งเดิมที่เป็นโครงหลังคาโค้งต่อเนื่องกันไป ร้านค้าทุกหลังมีหน้าที่ในการดูแลพื้นที่ทางเดินส่วนกลางนี้ร่วมกัน ในยามที่ไม่ได้ใช้เพื่องานทางธุรกิจ พื้นที่ส่วนนี้เป็นพื้นที่หน้าบ้านที่ถูกใช้งานโดยคนในชุมชน เป็นพื้นที่ที่กระตุ้นให้คนจากแต่ละบ้านได้มีปฏิสัมพันธ์กัน ลักษณะเช่นนี้ต่างไปจากร้านค้าในยุคปัจจุบันที่เน้นการปิดล้อมแยกพื้นที่ของร้านออกจากพื้นที่สาธารณะ เช่น ทางเดินด้านหน้าอาคาร หรือแยกส่วนพื้นที่ธุรกิจออกจากพื้นที่อยู่อาศัย

ภาพที่ 6 พื้นที่ทางเดินระหว่างตัวบ้านกับคลอง ในอดีตถูกสร้างให้เชื่อมต่อกันเพื่อให้ทั้งชุมชนที่วางตัวขนานลำน้ำเดินถึงกันได้หมด ในปัจจุบันพื้นที่เช่นนี้มักกลายเป็นจุดขายของแต่ละร้าน และกั้นเขตแยกจากกันเพื่อประโยชน์ของเฉพาะร้านใดร้านหนึ่ง
ที่มาภาพ: //pantip.com/topic/36986853
แนวคิดแบบเดียวกันเกิดขึ้นในชุมชนริมน้ำในอดีต โดยเฉพาะชุมชนที่เป็นตลาด มีกิจกรรมค้าขายและผู้คนแวะเวียนมาใช้พื้นที่ อาคารริมน้ำเหล่านี้มีการต่อพื้นที่หน้าร้านของแต่ละร้านกันจนเป็นทางเดินยาวจากหัวตลาดไปจนสุดท้ายตลาด พื้นที่ส่วนนี้มีลักษณะเป็นพื้นที่สาธารณะที่แท้จริง เพราะแต่ละบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้น และได้ประโยชน์จากพื้นที่ส่วนนี้ร่วมกัน โดยแต่ละบ้านมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนที่ติดกับโครงสร้างเรือนของตนเอง แต่การใช้งานนั้นเปิดโอกาสให้ทั้งชุมชนได้ใช้ในหลายโอกาส ทั้งในการค้าและการอยู่อาศัย
ภาพที่ 7 โครงการลานกีฬาพัฒน์ 2 ชุมชนบ้านครัว ใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ เป็นหนึ่งในโครงการนำร่องของการนำแนวคิดของการสร้างพื้นที่สาธารณะโดยชุมชนมีส่วนร่วมมาใช้และประสบความสำเร็จ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ และ
ที่มาภาพ: //www.creativemove.com/architecture/lan-kila-pat-2/
ความสำเร็จของการออกแบบพื้นที่สาธารณะที่สร้างขึ้นโดยทุกคนและเพื่อทุกคนในชุมชนมีให้เห็นเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน เช่น พื้นที่ลานกีฬาพัฒน์ โดยโครงการแรกเกิดขึ้นที่ชุมชนเคหะคลองจั่น โครงการที่สองตั้งอยู่ใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ในความดูแลของชุนชนบ้านครัว เขตราชเทวี และโครงการที่สามเกิดขึ้นที่เขตพระโขนง และนอกไปจากนี้ ความเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีการใช้งานที่หลากหลายและกำหนดโดยชุมชนเองก็เป็นการสร้างพื้นที่สาธารณะที่นำสู่ความยั่งยืนในการอยู่อาศัยในเมือง เช่น ชุมชนอ่อนนุช 14 ไร่ เขตประเวศ ที่สร้างพื้นที่ส่วนกลางเพื่อการใช้ประโยชน์ต่างๆ ในชุมชนขึ้น ที่ไม่เพียงแต่ใช้พักผ่อนหย่อนใจ แต่ยังใช้ในการผลิตอาหารและรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

สิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้จากอดีต คือการสร้างพื้นที่สาธารณะต้องไม่ใช่การจัดหาพื้นที่เพื่อให้คนมาใช้งานร่วมกัน แต่เป็นการสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการสร้างและจัดการพื้นที่โดยทุกคนเพื่อชุมชนของพวกเขาเอง ความหวังของข้อเสนอนี้คือในยุคที่ภาระของการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะถูกทำให้เป็นของรัฐแต่เพียงผู้เดียว และผู้อยู่อาศัยในเมืองใหญ่คุ้นชินกับการใช้พื้นที่สาธารณะที่อยู่ใต้อิทธิพลของระบอบทุน ความร่วมมือกันของชุมชนอาจเป็นทางออกในการแก้ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่สาธารณะและสร้างความยั่งยืนให้เมืองได้

keno online top 10 casino online casino trực tuyến baccarat online tải baccarat