random xúc xắc

ThaiPublica > เกาะกระแส > “กรณ์” ร้องนายกฯ สั่งปตท.ยกเลิกดีล ซื้อหุ้น GLOW – “ชาญศิลป์” แจงผลิตไฟฟ้าป้อนโรงงานในนิคมฯ ยันไม่ผูกขาด

“กรณ์” ร้องนายกฯ สั่งปตท.ยกเลิกดีล ซื้อหุ้น GLOW – “ชาญศิลป์” แจงผลิตไฟฟ้าป้อนโรงงานในนิคมฯ ยันไม่ผูกขาด

10 กันยายน 2018
เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 นายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ ยื่นหนังสือร้องเรียนถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล ทำเนียบรัฐบาล

จากกรณีนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ออกมาแสดงความเห็นคัดค้าน กรณีคณะกรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) หรือ “บอร์ด ปตท.” มีมติให้ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน) หรือ GPSC ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัท ปตท. เข้าซื้อหุ้นบริษัท โกลว์ พลังงาน จํากัด (มหาชน) หรือ “GLOW” ทั้งทางตรงและทางอ้อมในสัดส่วน 69% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุญาตของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กพพ.) โดยนายกรณ์มองว่า การดำเนินการดังกล่าวอาจขัดต่อ มาตรา 75 วรรค 1 ระบุว่า “รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขจัดการผูกขาดทางเศรษฐกิจที่ไม่เป็นธรรม และพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศ” และวรรค 2 ที่ว่า “รัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่กรณีที่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม การจัดให้มีสาธารณูปโภค หรือการจัดทําบริการสาธารณะ” รวมทั้งมาตรา 7(3) มาตรา 60 แห่ง

เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 นายกรณ์ จาติกวณิช ในฐานะประธานกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ จึงเดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และนายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน โดยคณะกรรมการนโยบายพรรคประชาธิปัตย์ได้มีข้อเสนอแนะถึง พล.อ. ประยุทธ์ 4 ข้อ ดังนี้

    1. ขอให้นายกรัฐมนตรีมีคําสั่งให้ บริษัท ปตท. จํากัด ในฐานะรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกความตั้งใจที่จะรุกคืบเข้าไปในธุรกิจการผลิตไฟฟ้า และยกเลิกแผนการซื้อหุ้นบริษัท โกลว์ พลังงาน จํากัด (มหาชน)

    2. ขอให้นายกรัฐมนตรีมีคําแนะนําต่อหน่วยงานที่มีอํานาจหน้าที่ ได้แก่ คณะกรรมการกํากับกิจการ พลังงาน ให้พิจารณาและวินิจฉัยว่า การกระทําของบริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ที่มีความประสงค์เข้าไปดําเนินกิจการผลิตและจําหน่ายกระแสไฟฟ้า มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 75 วรรค 1 และวรรค 2 เป็นภารกิจที่อยู่นอกขอบวัตถุประสงค์ของบริษัท ปตท.จํากัด (มหาชน) จึงไม่มีอํานาจกระทําได้ ทั้งยังมีลักษณะเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจํากัดการแข่งขัน ในการให้บริการพลังงาน ขัดต่อมาตรา 7(3) และมาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

    3. ด้วยเงินที่บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) โดยบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จํากัด (มหาชน) ใช้ในการซื้อหุ้น และควบรวมกิจการกับบริษัท โกลว์ พลังงาน จํากัด (มหาชน) เป็นเงินภาษีของประชาชน หากมีการชําระเงินดังกล่าวไปก่อนแล้วปรากฏภายหลังว่า การกระทําดังกล่าวขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ก็จะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติและประชาชน ทั้งยังอาจมีบุคคลที่ต้องรับผิดทั้งทางอาญาและทางแพ่งจากการกระทําดังกล่าว ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น ขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาใช้อํานาจหน้าที่สั่งการให้ผู้เกี่ยวข้องหยุดหรือชะลอการชําระเงินในธุรกรรมดังกล่าว จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะวินิจฉัยชี้ขาดไปในทางหนึ่งทางใด

    4. ขอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณากำกับติดตามการดำเนินการตามที่กล่าวข้างต้นทั้ง 3 ข้อโดยเคร่งครัด และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการด้วยความรวดเร็ว

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ด้านนายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ชี้แจงว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า GPSC ของ ปตท. มีที่มาอย่างไร ย้อนกลับไปในอดีต กลุ่ม ปตท. เริ่มสร้างโรงไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตั้งแต่เฟสที่ 1 จนมาถึงเฟสที่ 3 เนื่องจากโรงไฟฟ้ามีความจำเป็นต่อโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมาก หากมีปัญหาไฟฟ้าดับ ไฟตก โรงงานอุตสาหกรรมโดยเฉพาะปิโตรเคมีและการกลั่นจะเกิดความเสียหายมาก นี่คือความจำเป็นที่ ปตท. ต้องมีโรงไฟฟ้า ต่อมาก็มีโรงไฟฟ้าเอกชน คือ GLOW เข้ามาเปิดกิจการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่วน ปตท. ก็มีการรวบรวมโรงไฟฟ้าของบริษัทในเครือ เช่น IRPC, PTTGC และ ไทยออยล์ จัดตั้งบริษัท GPSC เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมี ปตท. ถือหุ้นอยู่ 20% ของทุนจดทะเบียน โดย GPSC มีกำลังการผลิตไฟฟ้าขายในมาบตาพุดประมาณ 1.9 พันเมกะวัตต์ นอกจากนี้ GPSC ได้ลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่ลาวอีก 2 แห่ง และลงทุนโซลาร์ฟาร์มในประเทศญี่ปุ่น

ปรากฏว่า ต่อมาทางผู้บริหาร GLOW เปลี่ยนนโยบายการลงทุนในประเทศไทย และหันไปเน้นโมเดลใหม่เกี่ยวกับพลังงานทดแทน จึงมีแนวคิดที่จะขายหุ้น GLOW และได้ติดต่อขายหุ้นให้เอกชนหลายแห่ง แต่สุดท้ายได้ข้อสรุปว่าขายให้ GPSC น่าจะเหมาะสมที่สุด ทั้ง 2 ฝ่ายก็ตกลงทำดีลกัน จนกระทั่งได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้นแล้ว และในขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) นายชาญศิลป์กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน GLOW มีกำลังการผลิตไฟ 3 พันกว่าเมกะวัตต์ ขายไฟฟ้าให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุดเท่านั้น ไม่ได้ส่งไฟฟ้าออกมาขายในกรุงเทพฯ เป็นการผลิตไฟฟ้า เพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC หาก GPSC รวมกับ GLOW ได้สำเร็จ โดยผ่านความเห็นชอบจาก กกพ. จะมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 5 พันกว่าเมกะวัตต์ ถ้าไม่นับรวมการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะอยู่อันดับ 4 แต่ถ้ารวม กฟผ. จะอยู่อันดับ 5

“กรณีที่มีความกังวลว่า GPSC จะมีความได้เปรียบ ไม่เป็นธรรม ก็มีสิทธิคิดกันได้ แต่ภารกิจ ปตท. ก็ต้องดูแลความมั่นคงด้านพลังงาน หากโรงงานอุตสาหกรรมในมาบตาพุดต้องการใช้ไฟฟ้าเมื่อไหร่ ต้องมีไฟฟ้าให้บริการ 24 ชั่วโมง ไฟต้องไม่ตก ไม่ดับ นโยบายนี้ตนได้ส่งต่อไปที่ GPSC ให้ดำเนินการต่อไป โดยผู้พิจารณาประเด็นเรื่องอำนาจเหนือตลาด ผูกขาดหรือไม่ ก็ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่เสียงทักท้วงเราก็รับฟัง” นายชาญศิลป์กล่าว

นายชาญศิลป์กล่าวต่อว่า ส่วนธุรกิจร้าน คาเฟ่ อเมซอน นั้น บริษัท ปตท. ทำธุรกิจนี้มา 15 ปีแล้ว เริ่มต้นจากการเปิดให้บริการลูกค้าในปั๊มน้ำมัน และพัฒนาจนกระทั่งได้รับการยอมรับจากตลาดมากขึ้น ราคาไม่แพงมากนัก คนระดับกลางสามารถดื่มได้ ต่อมาในระยะหลัง ปตท. ขยายกิจการออกไปเปิดนอกปั้มน้ำมัน เช่น ห้างสรรพสินค้า สถานที่ท่องเที่ยว สำหรับความกังวลที่ว่า ปตท. จะไปทำลายธุรกิจกาแฟขนาดเล็กหรือไม่ ตนขอตอบว่าปัจจุบันมีการเปิดกิจการขายกาแฟขนาดเล็กหลายแสนราย กระจายอยู่ตามตรอกซอกซอย แต่ ปตท. ไม่ได้ลงไปแข่งขันถึงจุดนั้น วันนี้ ปตท. นำแบรนด์ คาเฟ่ อเมซอน ออกไปขายต่างประเทศ ทั้งที่ญี่ปุ่นและอาเซียน การเปิดขายกาแฟในปั๊มและนอกปั๊ม ตนยืนยันว่าไม่ได้ไปทำลายตลาดล่าง ปตท. แข่งตลาดบน

ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้ง 2 กรณีเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 75 หรือไม่ นายชาญศิลป์กล่าวว่า “กรณีนี้คงต้องให้นักกฎหมายตีความ ที่ผ่านมาก็มีหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง กระทรวงพาณิชย์ และ กกพ. ก็เคยพิจารณาประเด็นการผูกขาดการแข่งขัน มีอำนาจเหนือตลาดมากพอสมควร ครั้งนี้หากมีการส่งเรื่องให้หน่วยงานเหล่านี้พิจารณาอีก ก็ต้องปล่อยให้เป็นไปตามหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ ผลออกมาเป็นอย่างไร ปตท. และบริษัทลูกก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ได้กังวล”

ส่วนการลงทุนในพื้นที่พัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) นายชาญศิลป์กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มบริษัท ปตท. ลงทุนในพื้นที่นี้กว่าครึ่งหนึ่ง ปตท. จึงสนใจที่จะเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ในรูปแบบของกิจการร่วมค้า เดิมทีมีพันธมิตรที่สนใจเข้าร่วมกับ ปตท. 10 ราย แต่ล่าสุดนี้คัดเลือกเหลือ 2 ราย ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการเดินรถไฟฟ้า แต่ก็ยังไม่ได้ติดสินใจเลือกกลุ่มไหน คาดว่าจะนำเรื่องนี้เสนอที่ประชุมบอร์ด ปตท. ภายในเดือนกันยายนนี้ และยื่นซองประกวดราคาช่วงเดือนพฤศจิกายน 2561 และประกาศผลการประมูลภายไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 โดยการประมูลครั้งนี้ หากผ่านการอนุมัติจากบอร์ด ปตท. ก็จะเข้าร่วมลงทุนในนามของบริษัท เอนเนอร์ยี คอมเพล็กซ์ จำกัด (EnCo) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ถือหุ้นโดย ปตท. และ ปตท.สผ. ฝ่ายละ 50% ทั้งนี้เนื่องจาก ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ จึงเข้าไปลงทุนโดยตรงไม่ได้
keno online top 10 casino online casino trực tuyến baccarat online tải baccarat